การศึกษาวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปูมั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

  • พระปัญกร ปญฺญาธโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระราชปริยัติวิมล , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน หล้าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการทำสมาธิในพระพุทธศาสนา 2)เพื่อศึกษาการทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 3) เพื่อวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค งานวิจัยและเอกสารต่างๆ ด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์


          ผลการวิจัยพบว่า 1. การทำสมาธิในพระพุทธศาสนา คือการฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ และแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบ เกิดความรู้สึกตัวหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น ส่งผลต่อความคิด การพูด และการกระทำที่แสดงออกมาภายนอกตน การกระทำทางกาย วาจา ใจ ฉะนั้นการฝึกทำสมาธิให้ดีย่อมนำมาซึ่งความสุขและความเจริญ สมถกรรมฐานเป็นอุบายทำจิตให้สงบและวิปัสสนากรรมฐานเป็นอุบายทำจิตให้เกิดปัญญา 2. การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติจริง ไม่เน้นความเข้าใจในหลักปริยัติ มีคำบริกรรม “พุทโธ” กำกับในอิริยาบถต่างๆ กำหนดลมหายใจตามหลักอนาปาสติกัมมัฏฐาน เน้นการปฏิบัติในทาน ศีล และภาวนา 3. วิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท การทำสมาธิคือการเอาคำบริกรรม “พุทโธ” เพื่อควบคุมสติและพัฒนาตน โดยการฝึกสมาธิทำให้เกิดกระบวนรู้ของสติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกมิติของการดำเนินชีวิต

References

บรรพต แคไธสง และพระมหาภิรัฏฐกรณ์ อํสุมาลี. (2558). การศึกษาวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ในการปฏิบัติกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์.

พระธรรมธีรราชมหามุนี. (2533). ปิดประตูอบาย ทางไปไปสู่พระนิพพาน : คู่มือสอนอารมณ์กรรมฐาน ของพระอาจารย์มหาสีสะยาดอร์ อัครมหาบัณฑิตธัมมาจาริยะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอำนวย อานนฺโท (เปล่งจันทร์). (2542). การศึกษาเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุเชาว์ พลอยชุม. (2549). สำนักวิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต. สถาบันวิจัยพุทธศาสน์ศึกษา ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิราษฎร์ ปรีชาจารย์. (2546). ศึกษาวิเคราะห์ “สมถยานิกะ” ในการปฏิบัติกรรมฐานอันมีกสิณ 10 เป็นอารมณ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

MINOU. (2018). ฝึกสมาธิแบบ “พุทโธ” หนทางของ “ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2564. จาก goodlifeupdate.com›healthy-mind›dhamma
Published
2021-11-30
How to Cite
ปญฺญาธโร, พระปัญกร; ,, พระราชปริยัติวิมล; หล้าโพนทัน, สงวน. การศึกษาวิเคราะห์การทำสมาธิสายพุทโธของหลวงปูมั่น ภูริทตฺโต ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 174-186, nov. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1683>. Date accessed: 18 jan. 2025.
Section
Research Article