รูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาในช่วงโควิด-19
A FORMAT OF MENTORING TO ENHANCE THE COMPETENCY OF THE STUDENT TEACHING PRACTICE IN SCHOOLS DURING COVID-19
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ตามที่คุรุสภาได้กำหนดมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพว่าต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่คุรุสภากำหนด ในการปฏิบัติงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้วางกรอบสมรรถนะไว้ 4 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านความสามารถจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ 2)ด้านความสามารถประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน 3)ด้านความสามารถวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4)ด้านความสามารถจัดทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนในการนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการสอน พบว่า นักศึกษาขาดทักษะและความรู้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ไปประยุกต์ใช้แบบบูรณาการกันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงนำกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำ(Mentoring) 4 ขั้นตอน คือ 1)การร่วมกันไตร่ตรองสะท้อนคิดและการวิเคราะห์ 2)การประชุมปรึกษาหารือก่อนการดำเนินการสอน 3)การสังเกตการสอนและบันทึกข้อมูล 4)การประชุมปรึกษาหารือหลังการดำเนินการสอนโดยได้ดำเนินการปรับรูปแบบการให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นแบบไม่เป็นทางการ และลดขั้นตอนเหลือ 3 ขั้น 1)รับรู้ปัญหา 2)วิเคราะห์ปัญหา 3)แก้ไขปัญหา วิธีการนี้ผู้นิเทศสามารถให้ความช่วยเหลือผู้รับการนิเทศได้ 3 ลักษณะ คือ 1)บอกวิธีแก้ปัญหาโดยตรง 2)เสนอข้อมูลและให้โอกาสผู้รับการนิเทศวิเคราะห์ปัญหาเอง 3)แบบผสมผสานทั้งลักษณะที่ 1 และที่ 2 โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line, Facebook, Twitter, Blog และApplication Zoom ผลปรากฏว่า นักศึกษาได้รับการสอนงาน คำแนะนำ ความช่วยเหลือ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจในการสอน ทำให้มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีทิศทางเป็นระบบมากยิ่งขึ้น จึงถือว่ารูปแบบการให้คำปรึกษาแนะนำ(Mentoring)เป็นแนวทางในการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษาให้สูงขึ้น
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). แผนยุทธศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ (พ.ศ. 2556-2560). นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2563). คู่มือการปฏิบัติการในสถานศึกษา. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
บุหงา วัฒนะ. (2532). รูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูในวิทยาลัยครู เพื่อเสริมสร้างเจตคติทางบวกต่อวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งทิวา จักรกร. (2529). ประสบการณ์วิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒประสานมิตร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุงใหม่. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับครูและผู้ปกครอง. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564. จาก https://smart.obec.go.th/ upload/bookregister/upload_files2/1589800587x1529387532_2.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ14 สิงหาคม 2564. จาก http://www. ccs1.go.th/gis/eoffice/57000001tbl_datainformation/20200703174943JQaUHUy..pdf
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานมาตรฐานวิชาชีพ กลุ่มมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564. จาก http://www.educ.su.ac.th/images/curriculum/ข้อบังคับคุรุสภา_56.pdf
Corria,M.P. McHenry, J.M. (2002). The Mentor's Handbook. Christopher- Gorden Publishing, Inc.
Dunne, K., & Villani, S. (2007). Mentoring New Teachers through Collaborative Coaching: Link Teacher and Student Learning. San Francisco : WestEd.
Vilma Muega-Geronimo, (2017). USE OF FACEBOOK IN MENTORING PRE-SERVICE TEACHERS. College of Teacher Education, Laguna State Polytechnic University, Sta. Cruz, Laguna, Philippines.