วิเคราะห์ความงามการแกะสลักไม้เชิงสุนทรียศาสตร์ของชุมชน ชาวบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร

  • พระวิชัย จนฺทสาโร(พรมโล) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระราชปริยัติวิมล , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูใบฎีกา นรินทร์ สีลเตโช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและงานแกะสลักไม้ของชุมชนชาวบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร 2)เพื่อศึกษาเชิงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ และ 3)เพื่อวิเคราะห์ความงามการแกะสลักไม้เชิงสุนทรียศาสตร์ของชุมชนชาวบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยพรรณนาเชิงวิเคราะห์


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปและงานแกะสลักไม้เชิงสุนทรียศาสตร์ของชุมชนชาวบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร ชาวบ้านนาสะไมย์เป็นชุมชนชาวพุทธผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นบริบทที่สำคัญในด้านของวัฒนธรรม งานแกะสลักไม้เป็นประติมากรรมลักษณะของประณีตศิลป์ที่ช่างผู้แกะสลักสร้างสรรค์ผลงานด้วยความละเอียดอ่อน สะท้อนสภาพสังคม วิถีชีวิตและจิตใจของชุมชน 2. จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเชิงสุนทรียศาสตร์ ความงามของการแกะสลักไม้ที่ประณีตงดงามประดิษฐ์ขึ้นจากความรู้สึกที่ไม่อาจประเมินค่าของความงามออกมาเป็นรูปธรรมได้การแกะสลักไม้เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและประณีตบรรจงความงามอยู่ที่สายตาคนมองความงามถูกกำหนดให้กับสิ่งต่างๆ ของวัตถุที่สวยงามและการตอบสนองเชิงอัตวิสัยของผู้สังเกต 3. วิเคราะห์ความงามการแกะสลักไม้ของชุมชนชาวบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธรพบว่าความงามด้านวัฒนธรรมเป็นภูมิปัญญาที่มีการรักษาสืบทอดกันมาในชุมชนท้องถิ่นให้อยู่อย่างมั่นคง มาสร้างความรู้ภูมิปัญญาช่างพื้นบ้านบนพื้นฐานศิลปะ วัฒนธรรมร่วมสมัยที่ปรากฏในงานพุทธศิลป์ ด้านวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติด้านความสามัคคีในชุมชนที่เข็มแข็งให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนและสังคมไทยต่อไป

References

กรมศิลปากร. (2532). ศิลปะถ้ำในอีสาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2525). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย ประเภทไม้แกะสลัก. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

เครือจิต ศรีบุญนาคและคณะ. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

ชวน ศรชัย. (ช่างแกะสลักไม้). ผู้ให้สัมภาษณ์. 30 กันยายน 2563. ณ บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่ 1 บ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.

ณัฐชยา จิตภักดี และพระครูภาวนาโพธิคุณ. (2563). การแสวงหาคำตอบศิลปะและความงาม : สุนทรียศาสตร์ตะวันตก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(4). 58-67.

วัชรพงษ์ ประทุมวัน. (ช่างแกะสลักไม้). ผู้ให้สัมภาษณ์. 15 ตุลาคม 2563. ณ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 1 บ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.

สุชาติ เถาทอง. (2536). ศิลปะกับมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไมย์. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). ยโสธร : องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไมย์.
Published
2021-11-30
How to Cite
จนฺทสาโร(พรมโล), พระวิชัย; ,, พระราชปริยัติวิมล; สีลเตโช, พระครูใบฎีกา นรินทร์. วิเคราะห์ความงามการแกะสลักไม้เชิงสุนทรียศาสตร์ของชุมชน ชาวบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 161-173, nov. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1660>. Date accessed: 16 may 2024.
Section
Research Article