สิม : ศิลปะทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปะทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของสิม 5 ด้าน ได้แก่ 1)การเสริมสร้างปราชญ์ชาวบ้านให้เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2)การสืบสานสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการทำสิมไปสู่คนรุ่นต่อไป 3)การปลุกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้ตระหนักถึงเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น 4)การส่งเสริมกิจกรรมร่วมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดอาชีพและรายได้แก่คนชุมชน และ 5)การจัดการความรู้นำเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูลและศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการสร้างสิมดำรงอยู่สืบไปเพราะว่าสิมเป็นงานศิลปะที่เกิดจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่สวยงามสมบูรณ์แบบ มีเอกลักษณ์เฉพาะ ปรากฏสุนทรียธาตุทั้ง 3 ประการ คือ ความงามความน่าชมและความเป็นเลิศ สร้างขึ้นจากความเชื่อศรัทธาทางพุทธศาสนาว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ในกิจของสงฆ์อาทิ พิธีอุปสมบท หรือการกฐิน จัดเป็นงานวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงความงดงามและตอบสนองการใช้สอยรวมทั้งตอบสนองทางด้านอารมณ์และจิตใจนอกจากจะมีความงดงามแล้ว ยังเป็นที่รวมความคิด วิถีชีวิตของชุมชนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า พัฒนาการของสิมในยุคที่ 1 เป็นสิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์แบบดั้งเดิม ยุคสร้างบ้านแปลงเมืองได้รับอิทธิพลศิลปะและวัฒนธรรมงานช่างล้านช้าง ยุคที่ 2 เป็นสิมพื้นบ้านประยุกต์โดยช่างพื้นบ้านได้รับอิทธิพลศิลปะ วัฒนธรรม จากกลุ่มช่างญวนมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะศาสนาคาร และยุคที่ 3 เป็นสิมอีสานประยุกต์หรือสิมพื้นบ้านผสมเมืองหลวง งานช่างในยุคนี้อาศัยศึกษาจากภาพถ่าย หนังสือ ตำรา หรือแหล่งศิลปะสถาปัตยกรรมวัด
References
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2537). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวน เพชรแก้ว. (2547). การเสริมสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ในท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารไทย. 2(3). 14-23.
พระธรรมธีราชมหามุนี (2514). “ความรู้เรื่องสีมา” วัดศรีประวัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์.
พระบัว (2525). “สีมาวินิจฉัย”. มหาขันธกวรรณา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมบรรณาการ.
พระภิกษุปาสาทิโก. (2513). พัทธสีมา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แพร่การช่าง.
พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณี (หาญพงษ์). (2558). การวิเคราะห์ความงามของศิลปะที่ปรากฏบนผ้าไหม 12 ราศี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณี (หาญพงษ์). (2561). การวิเคราะห์ความงามของผ้าไหมนครชัยบุรินทร์ตามทฤษฎีอัตวิสัย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยาขัติยวงษา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด). (2472). พงศาวดารภาคอีสาน. พระนคร : โรงพิมพ์ศรีหงส์.
พระราชศีลโสภิต. (2526). ประวัติมหาธาตุ. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2519). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). ศิลปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
วิโรฒ ศรีสุโร. (2536). สิมอีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้า.
ศักดิ์ชัย เกียรตินครินทร์. (2542). ภูมิปัญญาชุมชนแพทย์วิเศษในการพัฒนา. วารสารวัฒนธรรมไทย. 36(9). 2-4.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2514). วินัยมุขเล่มที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระวันรัตน์(แดง). (2465). เทศนาว่าด้วยพิธีผูกสีมา. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนาการ.
สุวิทย์ จิระมณี. (2533). สิมพื้นถิ่นอีสานตอนกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัจฉรี จันทมูล. (2559). ภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ผู้ไท. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ฉบับพิเศษ. 284-289.