การปรับพฤติกรรมการเข้าเรียนสายของนักศึกษารัฐศาสตร์ เทียบโอนปี 2 ห้อง ข ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยใช้การเสริมแรงเชิงบวก
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาหาสาเหตุการเข้าเรียนสายของนักศึกษารัฐศาสตร์การปกครอง 2) เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าเรียนสายนักศึกษารัฐศาสตร์การปกครองปี 2 เทียบโอน ห้อง ข ภาคพิเศษ โดยใช้การเสริมแรงทางบวกต่อการปรับพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย จำนวน 14 คน โดยประเมินจากแบบสอบถามและแบบบันทึกเกี่ยวกับความถี่ในการเข้าเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการเข้าเรียนสายของนักศึกษารัฐศาสตร์ มีสาเหตุจากตื่นสาย รองลงมาเที่ยวกลางคืน ขี้เกียจ และนอนดึก วิธีการแก้ไขการเข้าเรียนสายโดยปรับพฤติกรรมโดยใช้วิธีการเสริมแรงเชิงบวกด้วยการให้คะแนนเข้าชั้นเรียนตรงเวลา รองลงมา การให้คะแนนความสนใจ และให้คะแนนการมีส่วนร่วมกิจกรรมตามลำดับ ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเข้าเรียนก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ พบว่านักศึกษามีพฤติกรรมในการเข้าเรียนดีขึ้น จากเดิมก่อนเข้าโครงการมีจำนวน 14 คน หลังให้แรงเสริมทางบวกพบว่าอัตราการเข้าเรียนสาย จึงสรุปได้ว่าการให้แรงเสริมทางบวก การให้คะแนนเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ให้คะแนนการมีส่วนร่วมกิจกรรมและการให้คะแนนความสนใจสามารถแก้ไขพฤติกรรมการเข้าเรียนให้ดีขึ้นได้
References
ณิตชาธร ภาโนมัย. (2554). การปรับพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักศึกษาโดยการใช้ค่าคะแนนและแรงจูงใจทางบวก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(1). 27-36.
พุฑฒิพงษ์ เพชรรัตน์. (2552). การศึกษาพฤติกรรมซ้ำๆ ของนักเรียนออทิสติกอายุ 7-10 ปี ในโรงเรียนศึกษาพิเศษจากการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรลักษณ์ เลิศลอย. (2550). การศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานโดยการใช้การเสริมแรงทางบวก. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556. จาก http://bmasmartschool.com
วัชราภรณ์ กอนแก้ว. (2554). พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงต่อเวลาในวิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพแลกเพิ่มผลผลิตของนักศึกษาชั้น ปวส. ปีที่ 1. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อลงกรณ์ ประกฤติพงศ์. (2551). การตรงต่อเวลากับความพึงพอใจในการเรียน. การวิจัยในชั้นเรียน. Thai–Nichi Institute of Technology.
อารยา กองสุวรรณ. (2550). การแก้ปัญหานักเรียนมาสาย ชั้น ปวช.1/7 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีวิทยาลัยช่างศิลป. การวิจัยในชั้นเรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.