การบริหารสถาบันอุดมศึกษาภายใต้ภาวะวิกฤตเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

  • อมร เอื้อกิจ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารของสถาบันอุดมศึกษาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องในระบบ อันได้แก่ สถาบันการศึกษา ผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้บริหารสถาบันการอุดมศึกษาในประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต่างแสวงหามาตรการรับมือที่ดีที่สุด ก่อนมาพบคำตอบที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกแล้วว่ามีผลลัพธ์ที่ดีด้วยมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม จนนำไปสู่การปิดเมือง ปิดเศรษฐกิจ และปิดสถาบันการศึกษา ในเวลาต่อมานั่นกลายเป็นสาเหตุให้ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาจำนวนกว่า 2 ล้านคนได้รับผลกระทบ และถูกปั่นป่วนกระบวนการเรียนรู้ และผู้เรียนบางส่วนยังประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในโลกการศึกษาแบบปัจจุบันทันด่วน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาในประเทศไทยที่มีอยู่แล้ว และอาจรุนแรงสาหัสมากขึ้นเป็นทวีคูณ การมาเยือนของวิกฤตโรคระบาดทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับระบบการอุดมศึกษาหลากหลายด้าน เราจะออกแบบการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร การพัฒนาทักษะและหลักสูตรสำหรับโลกการศึกษารูปแบบใหม่หลังจากนี้ควรมีหน้าตาเป็นอย่างไร เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทด้านการเรียนรู้หรือทำให้ความเหลื่อมล้ำย่ำแย่กว่าเดิม หรือมีความเป็นไปได้ที่เราสามารถเปลี่ยนวิกฤตครั้งนี้ให้กลายเป็นโอกาสในด้านการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาครั้งใหญ่ได้ คำถามเหล่านี้เป็นบทบาทและหน้าที่โดยตรงที่ผู้บริหารสถาบันการอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางและแสวงหาคำตอบให้ได้อย่างเหมาะสม

References

กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2563). การท่องเที่ยวหลังโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563. จาก https://www.bangkokbiznews.com/ blog/detail/650331

กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2563). ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563. จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649783

ชัยเลิศ พิชิตพรชัย. (2563). ชีวิตหลัง 'โควิด' ส่อง 3 กลุ่ม นิว นอร์มอล เมื่อเชื้อไวรัสเปลี่ยนโลก. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก https://news.trueid.net/detail/MKgBO8b5vm8D

นธี เหมมันต์ และ อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2558). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับอุดมศึกษาที่สัมพันธ์กับTQF. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก https://mgronline. com/daily/detail/9580000022950

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). พลิกฟื้นการจัดการศึกษาของชุมชน สร้างการศึกษาไทยยุค 5.0 อย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2563. จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27693

ภัทรานิษฐ์ สุคนธกนิษฐ. (ออนไลน์). การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning). สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563. จาก https://sites.google.com/site/elearning257/profile

เรณุมาศ มาอุ่น.(2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(2). 169-176.

วิเชียร ไชยบัง. (2563). Public Forum โรคใหม่’ สร้าง ‘โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่’: อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก https://www.the101.world/ future-of-thai-education-after-covid19/

วิโรจน์ ณ ระนอง.(2563). แลไปข้างหน้า: ชีวิต (ใหม่?) ของคนไทยหลัง 30 เมษา 63. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก https://tdri.or.th/2020/04/new-normal-life-after-lift-lock-down/
สุพจน์ อิงอาจ. (2563). การศึกษา 5.0 ภาพอนาคตของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563. จาก https://www.matichon.co.th/ education/news_2162785

เสาวรัจ รัตนคำฟู.(2563). วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก https://tdri.or.th/2020/04/digital-divide-online-education-inequalities/

Benjapa Potikanit.(2561). การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง(Simulation). สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2563. จาก https://prezi.com/p/eanstpgjtlku/simulation/

Covid – 19 Coronavirus pandemic. (2563). Searched on August 04, 2020. From https://www. worldometers.info/coronavirus/

Worldometer. (2020). COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC. Searched on August 04, 2020. From https://www.worldometers.info/coronavirus/
Published
2020-12-24
How to Cite
เอื้อกิจ, อมร. การบริหารสถาบันอุดมศึกษาภายใต้ภาวะวิกฤตเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19). วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 120-130, dec. 2020. ISSN 2730-2644. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1079>. Date accessed: 14 jan. 2025.
Section
Academic Article