การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ

Yonisomanasikara Management Learning

  • วิญญู เถาถาวงษ์ มหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการที่กล่าวมาจะเห็นว่า การเรียนรู้โดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ วิธีการคิดอย่างถูกต้อง เป็นระบบ อันจะนำไปสู่การเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ไม่ติดอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอกหรือมองด้านใดด้านหนึ่งเป็นสำคัญ


หลักการ การจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ ผู้สอนเป็นบุคคลที่จะต้องจัดสภาพแวดล้อม สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ และได้ฝึกฝนวิธีคิดโดยแยบคาย เน้นให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกนำไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกวิธีจนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม


การสอนแบบโยนิโสมนสิการ โดยกระบวนการสร้างศรัทธานั้น อาจารย์เป็นบุคคลสำคัญในการออกแบบการสอนที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนและสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย ที่สามารถจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนได้ดี และได้ฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคายนำไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริง ซึ่งสามารถทำให้อาจารย์และนักศึกษามีความปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนการสอนอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการฝึกคิดและพัฒนาเป็นกระบวนการคิด ได้แสดงออก ปฏิบัติอย่างถูกวิธี ทั้งในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน


Abstract


The idea is model of the proper mind work was found that learning the principles of Buddhism and reflective thinking. The teacher wants the students to learn. How to think correctly by system which lead to an understanding of the reality. Not attached to the outside of life or to one side.


Learn management principles of faith and reflective thinking. The instructor is the person to the environment. Motivating students to learn the faith and thinking and practice by depriving. Focus on the teacher and the students have a good relationship with each other. Students have the opportunity to show the correct way to solve the problem properly.


Teaching by reflective thinking (Yonisomanasikara) with process of building faith. Teacher is the key to carrying out teaching and learning with the development and the philosophy of the university. The environment in the course well and be trained how to think by depriving put into practice until proven fact. The students can interact with the formal teaching of the good. As a tool to train and develop the thought process was expressed treated properly In teaching and learning.

Published
2015-12-29
How to Cite
เถาถาวงษ์, วิญญู. การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 3, n. 2, p. 1-12, dec. 2015. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/98>. Date accessed: 04 may 2024.