หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย

Good Governance Administration in Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives

  • จิดาภา โรจนวิจิตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชวนชม ชินะตังกูร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อยืนยันองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย และ 4) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรในสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย จำนวน 739 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างการโดยใช้ สูตรการคำนวณของ Taro Yamane และและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน ในการตอบแบบสอบถาม เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย ใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน เพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาย และใช้การสนทนากลุ่มใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจากผู้จัดการ จำนวน 10 คน เพื่อยืนยันและหาแนวทางการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาณ์เชิงลึก และ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย พบว่า มีจำนวน 12 องค์ประกอบ และ 73 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ความมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 7 ตัวแปร 2) การจัดการผลผลิต ประกอบด้วย 6 ตัวแปร 3) ความมีคุณธรรม ประกอบด้วย 7 ตัวแปร 4) วัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย 7 ตัวแปร 5) หลักนิติธรรม ประกอบด้วย 4 ตัวแปร 6) การจัดการผลประโยชน์ ประกอบด้วย 7 ตัวแปร 7) การรับฟังข้อคิดเห็น ประกอบด้วย 7 ตัวแปร 8) บทบาทผู้นำ ประกอบด้วย 5 ตัวแปร 9) ความโปร่งใสคำสำคัญ: ศีล 5, การดำเนินชีวิต, นักเรียน

  2. การตรวจสอบความสอดคล้องของหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ความสอดคล้องขององค์ประกอบในครั้งที่ 1 มีจำนวนตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 73 ตัวแปร แต่ยังมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตัวแปรสังเกตได้บางตัวต่ำกว่าเกณฑ์ 0.5 จึงตัดออก และนำตัวแปรสังเกตได้ ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.5 มาสร้างโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันครั้งที่ 2 จึงได้จำนวนองค์ประกอบในครั้งที่ 2 มีจำนวนตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 49 ตัวแปร ทั้งนี้ในการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลทั้ง 2 ครั้งได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขของค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน และค่า p-value ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. การยืนยันองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญยืนยันองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย โดยมีความเห็นสอดคล้องในทิศทางเดียวกันการสร้างแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทยพบว่า มีแนวทางการบริหารงาน แบ่งเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 29 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านการบริหาร จำนวน 7 แนวทาง 2) ด้านการเรียนรู้ จำนวน 4 แนวทาง 3) ด้านการเพิ่มสมรรถนะ จำนวน 6 แนวทาง 4) ด้านการด้านเทคโนโลยี จำนวน 4 แนวทาง และ5) ด้านการด้านการสร้างองค์กร จำนวน 8 แนวทาง

ABSTRACT


The objectives of the research were to (1) explore the factors of good governance administration in Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives, (2) examine the concordance of the factors of good governance administration in Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives with empirical data, (3) confirm the factors of good governance administration in Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives, and (4) determine the guidelines for good governance administration in Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives.


The research was designed by mixed methodology, qualitative, and quantitative research.  The population of the research was 739 personnel from 161 Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives; 161 managers and 578 officers. The samples were retrieved by stratified random sampling, 397 personnel; 161 managers, and 236 officers. The 10 experts were selected for interview of good governance variables and  10 managers were selected by purposive sampling method for focus group discussion.  The instruments used for data collection were in-depth interview form and questionnaire.  The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Exploratory Factor Analysis, and Confirmatory Factor Analysis, as well as content analysis.


Major findings: (1) The 12 factors with 73 variables of good governance administration were found; 1) efficiency with 7 variables, 2) product management with 6 variables, 3) morality with 7 variables, 4) organizational culture with 7 variables, 5) rule of law with 4 variables, 6) benefit management with 7 variables, 7) suggestion hearing with 7 variables, 8) role of  leader with 5 variables, 9) transparency with 6 variables, 10) accountability with 7 variables, 11) improvement with 4 variables and 12) controlling and supervision process with 6 variables respectively. (2) The factors of good governance administration in Thai Public Health Saving and Credit Cooperatives were in concordance with the empirical data. (3) The factors of good governance administration of Thai public health saving and credit cooperatives were confirmed by the consensus of experts. and (4) The 5 aspects including 29 guidelines for good governance administration of Thai public health saving and credit cooperatives were found as follows; 1) administration with 7 guidelines, 2) learning with 4 guidelines, 3) competency building with 6 guidelines, 4) technology with 4 guidelines, and 5) organization building with 8 guidelines.

Published
2019-12-27
How to Cite
โรจนวิจิตร, จิดาภา; ไชยศิริธัญญา, กมลมาลย์; ชินะตังกูร, ชวนชม. หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 597-612, dec. 2019. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/926>. Date accessed: 03 may 2024.