การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

Personnel Administration Affecting the Teacher’s Commitments in the Schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2

  • วรรณิศา อ่อนประสพ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • พระปริยัติสารเวที (ทองสุข สุทฺธสิริ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ขัตติยา ด้วงสำราญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 2) เพื่อศึกษาความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 และ3) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า


1. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา รองลงมาคือ การพัฒนาครูและบุคลากร ในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน


2. ความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความผูกพันต่องาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ความผูกพันต่อองค์การ


3. การบริหารงานบุคคลส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ (X2) และการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา (X5) ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (Ytot) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการพัฒนาครูและบุคลากร ในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (X3) ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (Ytot) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ABSTRACT


The objectives of this thesis were: 1) to study personnel administration of schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) to study teachers’ commitments in schools under Primary Educational Service Area Office 2, and 3) to study of personnel management affecting the teachers’ commitments in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2. The data were collected from 280 samples in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2 by questionnaire, and then analyzed by frequency, percentage, Average, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.
The results of research were found that:


1. The personnel administration of schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2 was at a high level overall. The highest level was on providing counseling and solving work problems for teachers and personnel in schools, followed by teacher and personnel development to perform duty effectively, promotion of morale for teachers and personnel, and qualified personnel recruitment respectively.


2. The commitment of teachers in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2 was at a high level totally. The highest level was on work commitment, and the least level was on organization commitment.


3. Personnel management affecting teachers’ commitment in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2 was found that the arrangement of personnel suitable for their responsibilities (X2) and providing counseling and problem-solving for teachers and personnel in schools (X5) affected the binding of teachers’ commitment in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2 (Ytot) with statistical significance at the .01 level. As for the development of teachers and personnel in schools to be able to perform duty effectively (X3) affected teachers’ engagement in schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2 (Ytot) with statistical significance at the level of .05

References

เฉลิมศรี อรรจนกุล. (2558). การวิจัยนิเทศศาสตร์. สงขลา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). ประกันคุณภาพการศึกษาทุกคนทำได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ: วัฒนพาณิชย์.

สุดา สุวรรณภิรมย์. (2546). หลักการบริหารงานบุคคล. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ณัฐพร คาวิน. (2557). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ถนอมพรรณ เพิ่มพูน. (2554). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรี ต๊ะสูง. (2558). ความผูกพันของครูผู้สอนที่มีต่อองค์การในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณทิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พันธรัตน์ โชคปมิตต์กุล. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพื้นที่จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ประสบการณ์จากนานาประเทศ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณทิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วาสนา ส้วยเกร็ด. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชญ อภิบาลศรี. (2558). อิทธิพลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการธุรกิจโรงแรมในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ, สาขาการบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 2. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). 3 ปี หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมของคุรุสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สิริพงศ์ นวสกุลธนนนท์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูต่อโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนันท์ ฝอยหิรัญ. (2558). การศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภารัตน์ รวดเร็ว. (2544). ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลข้าราชการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรอนงค์ ตุ้ยแสน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความมีอิสระในงาน การรับรู้ความสามารถ ในตนเองต่อความผูกพันต่องานของนักสื่อสารมวลชน: บทบาทการเป็นตัวแปรปรับของความกดดันในงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อลงกรณ์ งามกุศล. (2559). การดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

Mowday, R. T., Porter, L. W. & Steers, R. W. (1982). Employee - Organizational Linkage :The sychology of Commitment Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.

Porter, L.W.,Steers, R.M.,Mowday,R.T., Boulian. 1974. Organizational commitment, job Satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59, 604.
Published
2020-06-30
How to Cite
อ่อนประสพ, วรรณิศา; (ทองสุข สุทฺธสิริ), พระปริยัติสารเวที; ด้วงสำราญ, ขัตติยา. การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 329-342, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/845>. Date accessed: 24 apr. 2024.