ยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Strategies for School Library under Bangkok
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) สร้างยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ4) ประเมินยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ระดับลึก ประเด็นระดมสมอง และแบบประเมินยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เชิงปริมาณประชากรได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 305,274 คน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ได้มาโดยการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยแบ่งตามกลุ่มของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า1.สภาพปัญหาการให้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) ด้านอาคารสถานที่ สถานที่ตั้งอยู่ในที่ไม่สะดวกในการเข้าใช้บริการ 2) ด้านบุคลากร บรรณารักษ์ไม่มีความรู้ความสามารถในงานที่บริการ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีเทคโนโลยีสนับสนุนการช่วยสืบค้นข้อมูลที่ไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 4) ด้านครุภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 5) ด้านการบริการ เจ้าหน้าที่ไม่ช่วยตอบคำถามช่วยการค้นคว้า 6) ด้านระบบ การจัดพื้นที่ไม่เป็นสัดส่วน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มี ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือด้านอาคารสถานที่และด้านครุภัณฑ์ และมีระดับปานกลางอยู่ 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ ด้านการบริการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบ และน้อยที่สุดคือด้านการบริการ 3. ยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ได้ยุทธศาสตร์ 8 ด้าน 1) ด้านอาคารสถานที่มี 3 กลยุทธ์ 2) ด้านบุคลากรมี 3 กลยุทธ์ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมี 3 กลยุทธ์ 4) ด้านครุภัณฑ์มี 3 กลยุทธ์ 5) ด้านการบริการมี 3 กลยุทธ์ 6) ด้านระบบมี 3 กลยุทธ์ 4. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การบริการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย 4 มาตรฐานย่อยคือ 1) มาตรฐานการนำไปใช้ประโยชน์ 2) มาตรฐานความเป็นไปได้ 3) มาตรฐานความเหมาะสม 4) มาตรฐานความถูกต้อง พบว่ายุทธศาสตร์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีทุกด้านได้แก่ 1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ด้านครุภัณฑ์ 5) ด้านการบริการ 6) ด้านระบบการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) สร้างยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ4) ประเมินยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ระดับลึก ประเด็นระดมสมอง และแบบประเมินยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เชิงปริมาณประชากรได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 305,274 คน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ได้มาโดยการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยแบ่งตามกลุ่มของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า1.สภาพปัญหาการให้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) ด้านอาคารสถานที่ สถานที่ตั้งอยู่ในที่ไม่สะดวกในการเข้าใช้บริการ 2) ด้านบุคลากร บรรณารักษ์ไม่มีความรู้ความสามารถในงานที่บริการ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีเทคโนโลยีสนับสนุนการช่วยสืบค้นข้อมูลที่ไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 4) ด้านครุภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 5) ด้านการบริการ เจ้าหน้าที่ไม่ช่วยตอบคำถามช่วยการค้นคว้า 6) ด้านระบบ การจัดพื้นที่ไม่เป็นสัดส่วน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มี ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือด้านอาคารสถานที่และด้านครุภัณฑ์ และมีระดับปานกลางอยู่ 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ ด้านการบริการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบ และน้อยที่สุดคือด้านการบริการ 3. ยุทธศาสตร์การบริการของห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ได้ยุทธศาสตร์ 8 ด้าน 1) ด้านอาคารสถานที่มี 3 กลยุทธ์ 2) ด้านบุคลากรมี 3 กลยุทธ์ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมี 3 กลยุทธ์ 4) ด้านครุภัณฑ์มี 3 กลยุทธ์ 5) ด้านการบริการมี 3 กลยุทธ์ 6) ด้านระบบมี 3 กลยุทธ์ 4. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การบริการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย 4 มาตรฐานย่อยคือ 1) มาตรฐานการนำไปใช้ประโยชน์ 2) มาตรฐานความเป็นไปได้ 3) มาตรฐานความเหมาะสม 4) มาตรฐานความถูกต้อง พบว่ายุทธศาสตร์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีทุกด้านได้แก่ 1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ด้านครุภัณฑ์ 5) ด้านการบริการ 6) ด้านระบบ
ABSTRACT
The purpose of this research were to 1) study problems of the service of school library service affiliated to Bangkok. 2) study the factors affecting the decision to use the service of the school libraries affiliated to Bangkok. 3) devise strategies of the school libraries affiliated to Bangkok. 4) evaluate strategies of the school libraries affiliated to Bangkok. This was mixed research methodology. Key informants were 24 people. Research tools were in-depth interview, brainstorming and strategies evaluation analysed by content analysis. Quantitative research, the samplings were 400 of teachers and students affiliated to Bangkok. The research tools were questionnaires. Statistics were descriptive statistics such as percentage, mean and standard deviation. The research results were found that: 1. problems of the service of school library service affiliated to Bangkok were found that 1) facilities that the location was uncomfortable. 2) personnel that librarians were lack of knowledge. 3) information technology that there was lack of supplement technology. 4) equipment that computers were not efficient and not enough. 5) service that staffs were not respond to users. 6) system that allocated areas were not proportionate. 2. factors affecting the decision to use the service of school libraries affiliated to Bangkok for overall was at medium level. Each aspects, there were 2 aspects at high level that were facilities and equipment and medium levels were 4 aspects that were information technology, system and service respectively. 3. service strategies of the school libraries affiliated to Bangkok were found that there were 8 strategies 1) facility aspect including 3 strategies 2) personnel aspect including 3 strategies 3) information technology aspect including 3 strategies 4) equipment aspect including 3 strategies 5) service aspect including 3 strategies 6) system aspect including 3 strategies. 4. evaluation of school libraries affiliated to Bangkok including 4 sub-standards which were 1) application standard 2) feasibility standard 3) appropriate standards 4) accuracy standards were found that there were at a good level for all aspects, 1) facilities 2) personnel 3) information technology 4) equipment 5) services 6) systems.
References
คีตะภาค วิรัตน์. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะประจาสายงาน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ไม่มีวุฒิการศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จิดาภา มีเพชร. (2551). ความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อการบริการของห้องสมุดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง. ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
จิดาภา มีเพชร. (2552). ห้องสมุดโรงเรียนยุคใหม่. วารสารการศึกษาไทย. 6(54), 1.
ฉวีวรรณ อินชูกุล. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.
ณพิชยา กิจจสัจจา. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์, , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณภดล ปิ่นทอง. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พูลศิริ พรหมกูล. (2555). การสำรวจความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการการศึกษาต่อการใช้บริการสารสนเทศทางไกลสำนักวิทยบริการมหาสารคาม : สํานักวิทยบริกามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รังสิมา ถนอมเวช. (2559) สภาพและปัญหาการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน กลุ่มกรุงเทพเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วนพร สุริยะ. (2553, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดของนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ข่าวสารห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26(2), 13.
วลินดา นิรันต์เรือง. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อการใช้บริการห้องสมุดเทโอฟาน โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. รายงานวิจัยพัฒนางาน โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา.
ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย. (2554). การสำรวจความพีงพอใจของนักศึกษาในการได้รับบริการจากศูนย์การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2554. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย และคณะ. (2555). การสำรวจความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.
Grehlken, Vician Seiber. (1994). The role of the high school library media program in three nationally recognized south Carolina blue ribbon secondary schools. Eric.
McCarthy, E. W., Rothschild, M.L.& Novelli, W.D.(1997). State of the school library with library standard set. Illinois.
Nwanosike, E.O. (1990). A study of Secondary Schools library resources in Anglo Phon Cameroon : Strategies for improvement. Dissertation Abstracts International.
Pagel. Doris bertha. (1998). Function of librarians to word The Performing to Adult Education Service. Dissertation Abstracts International.
Wilkins, D.A. (1995). Changing conditions and the impact on the role of librarians
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย