สังคมเมืองในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Urban Society During Situations Coronavirus disease (COVID-19)

  • พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

Abstract


บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาสังคมเมืองในช่วงสถานการณ์โควิด 2019 สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากไวรัสโควิด-19 เพื่อชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมและการทำงานของแพทย์ ในประเทศปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 การแก้ไขปัญหา ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ติดตามสถานการณ์ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ หลีกเลี่ยง ในที่ชุมชน สวมหน้ากากผ้า หรือล้างมือ


ชุมชนเมือง (Urban community) ชุมชนที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับชุมชนชนบท มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่มาก มีการเพิ่มของประชากรสูง ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม การค้าและบริการ การผลิตเพื่อธุรกิจการค้ามากกว่าเพื่อบริโภคเอง มีโครงสร้างทางสังคมที่สลับซับซ้อน การควบคุมทางสังคมใช้การควบคุมโดยกฎหมายเป็นหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะทางการตามสถานภาพและบทบาทของแต่ละคน มีความผูกพันกับชุมชนน้อย ขาดเอกลักษณ์ของชุมชน หลังจากที่องค์การอนามัยโรคประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดร้ายแรง เนื่องจากการแพร่ระบาดที่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลกแล้วนั้น หนึ่งในวิธีการรับมือกับการระบาด คือ Social distance หรือการเพิ่มระยะห่างระหว่างกันในสังคม เพื่อป้องกันการระบาดจากคนสู่คน มาตรการ Social distance นี้ ได้ส่งผลอย่างมหาศาลกับทุกวงการทุกภาคส่วน ผลกระทบต่อโควิด-19 เป็นความท้าทายสำหรับบุคลากรในแวดวงการตลาดและการสื่อสาร เพื่อสรุปผลกระทบกับที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยพร้อมแนวทางในการแก้ไข สำหรับนักการตลาดพบว่าผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภคนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลโควิด-19 และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องrพบว่าการค้นหาเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 บนโลกออนไลน์ ขึ้นมาสูงสุด นักโฆษณาและการตลาดมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ของการระบาดและพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมไปถึงการเสพสื่ออย่างใกล้ชิดอย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน


การป้องกันในช่วงสถานการณ์โควิด 2019 หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล สวมใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด ควรทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว งดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า ต้องใช้ช้อนกลาง เมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยติดต่อกับรัฐบาลไทยโดยตรงอย่างสม่ำเสมอผ่านกระทรวงสาธารณสุข แบ่งปันข้อมูลกับรัฐบาลพัฒนาการที่สำคัญอื่น ๆ ตลอดจนแนวทางและการปรับปรุงต่าง ๆ WHO ยังสนับสนุนการรับมือต่อโรคระบาดของหน่วยงานสหประชาชาติในระดับที่กว้างขึ้น ให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายของสหประชาชาติในไทย ในทางการแพทย์พบว่า โควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่เคยมีมาก่อน มีลักษณะซับซ้อน พัฒนาสายพันธุ์เก่งชนะได้ไม่ง่ายนัก ถ้าเราหมั่นอบรมพลธรรม 4 ประการอยู่ตลอดเวลา เชื่อว่าเอาชนะโควิดได้อย่างปลอดภัย พลธรรม 4 ข้อ ก็คือ ปฏิสังขานพละ พลังการพิจารณา ควรพิจารณาธรรมชาติของโควิดให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อนำไปสู่การป้องกัน เช่น การสวมใส่แมสก์ หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่างทางสังคม เป็นต้น ภาวนาพละ พลังการภาวนา ควรพัฒนาสิ่งดี ๆ ให้มีขึ้น เรียกว่า การพัฒนา ควรระดมสมองเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด ควรพัฒนาวิธีดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยจากโควิด เป็นต้น อนวัชชพละ พลังความสุจริต ควรทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาทั้งมวล คือ ทำด้วยความสุจริต เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง (มุ่งแก้ปัญหาโดยสุจริต) สังคหพละ พลังการสงเคราะห์ คือ การยอมรับในความเป็นมนุษย์ ซึ่งกันและกัน มีความเมตตาเป็นที่ตั้ง ให้ความอนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ


Abstract


This article aims to study urban society during the Covid-19 situation, as well as the impact of the Covid-19 virus to point out what happens in society and the work of doctors. In countries that arise during the Covid-19 situation. Troubleshooting health care track situations from the source reliable data, eat hot, medium spoons. Wash your hands, avoid people in the community, and wearing masks fabrics or having, urban communities are the communities that are opposite rural communities. There is a huge population density per area. There is an increase in the population. The Most of people are industrial careers, trade and manufacturing services for trades rather than for self-consumption. There is an intricate social structure. Social control takes legal control as a primary, a relationship between people is a formal relationship based on the status and role of each person. There is little community affiliation, lack of community identity on the day of the Covid-19 epidemic. It spreads around the world as the world is spinning slowly with a crisis from Covid-19. After the World Health Organization announced Covid-19. One of the ways to cope with the epidemic is that social distance or increase disarray in society to prevent outbreaks from people to people, which measures this social distance has hugely affected all sectors of all sectors, and in the corner of economic marketers, the impact on the co-ordination-19 is the ultimate challenge for this time for people in marketing and communication, with a summary of the impact on what will happen in Thailand with guidance for marketers to pass through this period together from economic impact. Consumer behavior since the Covid-19 outbreak. And change consumer behavior to find information about Covid-19 and other related stories and from data, searching for the Covid-19 virus. Advertisers and marketing are responsible for monitoring the situation of outbreaks and consumer behavior, as well as frequent daily media addiction.


Protection during the 2019 covid situation frequently wash hands with soap or alcohol gel. Avoid being in a crowded place, refrain from traveling to the plague-prone area, eat cooked food, refrain from raw food and wildlife meat. When eating with others, The World Health Organization in Thailand regularly communicates directly with the Thai government through the Ministry of Health. The WHO also supports the broader response to the epidemic of U.N. agencies and provides information and advice related to U.N. officials in The United Nations network. The medical examiner clarified that Covid was an unprecedented virus. It's complicated, it's not easy to develop a good breed. If we always train four generals, believe that defeating Covid safely. Four of the most important aspects of the general is the reforms, the power of consideration, should consider the nature of Covid to all aspects. You know how to prevent viruses, such as wearing mask, washing your hands. Maintain social distance, etc.

References

กรมควบคุมโรค.(2563). การเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก ttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กรุ๊ปเอ็ม (GroupM). (2563). ผลกระทบจากโควิด 19 มีอะไรบ้าง และในมุมของนักการตลาดต้องปรับตัวสืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563,จาก www.groupmthailand.com/insightm/index/detail/16

กันต์ เอี่ยมอินทรา. ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563,จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872053

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 6): โลกแห่งสังคมเมือง (Urban World). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563, จากhttp://www.kriengsak.com/Urban%20World.

ณรงค์ เส็งประชา. (2544). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.

แพทยสภา. (2563). หมอชวนรู้ ไวรัส โควิด-19 ที่มาอาการ การรักษา และการป้องกันโรค. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://tmc.or.th/tmc_knowledge.php

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์. (2563). ชนะโควิดด้วยพละธรรม.สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/photo. php?fbid=10222616157776497&set=a.1352715461801&type=3&theater

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์. (2563). SOCIAL DISTANCING เว้นระยะห่างทางสังคม.สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/photo. php?fbid=10222616157776497&set=a.1352715461801&type=3&theater

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ).(2535). ธรรมปริทรรศน์ 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย

มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. (2551). การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเขตชานเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเด็ก และเยาวชนในท้องถิ่น กรณีศึกษา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2525). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัฐบาลไทย. (2563). SOCIAL DISTANCING เว้นระยะห่างทางสังคม.สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/2764

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ฉบับที่ 145 วันที่ 27 พฤษภาคม 2563.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.
Published
2020-06-30
How to Cite
(สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน), พระครูธรรมคุต; ปญฺญารุโณ, พระมหาอรุณ; วิจิตรวัชรารักษ์, กัญจิรา. สังคมเมืองในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 263-276, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/826>. Date accessed: 22 nov. 2024.