ทัศนคติและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี

Attitude and Peer Influences on Alcohol Consumption Behaviors of Secondary School Students in Chonburi Province.

  • ธนภูมิ ธรรมบุตร นิสิตปริญญาโท สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง ภาควิชาวิจัย และจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ ภาควิชาวิจัย และจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวม และจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน ภายในโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวม และจำแนกตามระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6   จำนวน 1,080 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอย


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ตามลำดับ โดยระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำจกว่าจากนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าจากนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ระดับนัยสำคัญ .05

  2. ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.278 และสามารถอธิบายได้ร้อยละ 7.8 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่าทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากสุดในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1และน้อยสุดในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4

  3. การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางบวกต่อทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.296 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.8 เมื่อจำแนกตามระดับชั้นโดยพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด  และมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด ในขณะที่การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.079 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.6 และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าอิทธิพลมากที่สุด และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด

Abstract


The purposes of this research were 1) The Changes of attitude levels towards alcohol drinking. And alcohol drinking behavior Of secondary school students 2) to analyze the influence of attitude towards alcohol drinking on alcohol drinking behavior Of secondary school students as a whole And classified by secondary level 3) in order to analyze the role of the moderating variables in the peer group Within the model, the relationship between attitude and alcohol drinking behavior Of secondary school students as a whole And classified by secondary level The sample group used in this research was 1,080 mathayom suksa 1-6 students. The instrument used in this research was a questionnaire about attitude. Influence of peer groups and alcohol drinking behavior Statistics used in the analysis of basic statistics. One-way Analysis of Variance And regression analysis


The research finding were as follows


  1. The attitudes and behaviors of drinking alcoholic beverages were significantly different at the statistical significance level of .05 respectively. In grade 1, there was a lower level of attitude towards alcohol drinking than from students in grade 2, 3, 4, 5 and 6 at a significant level of .05 and students in grade 10. Having alcohol drinking behavior lower than those from by grade 11 students at the significant level of .05

  1. Attitude towards alcohol drinking influenced alcohol drinking behavior of secondary school students with statistical significance of .05 with the regression coefficient in the standard score equal to 0.278 and could be explained by 7.8%. According to grade level, it was found that the attitude towards alcohol drinking had an effect on alcohol drinking behavior. At the highest level in secondary school
    by grade 1 and the lowest in by grade 10

  2. Fellow friends had a positive influence on attitudes towards alcohol drinking with statistical significance at the level of .05 with the regression coefficient in the form of standard scores equal to 0.296. The variance could be explained 8.8% when classified by level. I found that by grade 10 were the most influential values. And by grade 11 had the least influence. Whereas, the group of friends had a negative influence on behavior towards drinking of alcohol with statistical significance at the level of .05 with the regression coefficient in the form of a standard score equal to 0.079, which could explain 0.6% of the variance. And when classifying by found that by grade 7 had the most influence. And by grade 12 had the least influence.

References

ซิ่วฮวย แซ่ลิ้ม, กนกพร หมู่พยัคฆ์ และนันทวัน สุวรรณรูป. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 37(3), 25-36.

ดลใจ วงศ์ฤทธิไกร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของข้าราชการ กองทัพอากาศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการเสพติด บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตติยา บัวสอน. (2555). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปวีณา วงษ์ชะอุ่ม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตภาคปกติมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี.

ปิยะ ทองบาง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัณฑนา ขอนดอก, พรนภา หอมสินธุ์และรุ่งรัตน์ศรีสุริยเวศน์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรกของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอบางน้ำ เปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 13-18.

อนงค์ดิษฐสังข์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา), สาขาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติของวัยรุ่นในจังหวัดขอนแก่น. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Published
2020-06-30
How to Cite
ธรรมบุตร, ธนภูมิ; ทองคำบรรจง, เสกสรรค์; งามมีฤทธิ์, ณัฐกฤตา. ทัศนคติและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 241-251, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/824>. Date accessed: 24 nov. 2024.