การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Learning Management by Using Tale to Develop Thai Reading Abilities of Grade 1 Students
Abstract
ผลการวิจัย เรื่อง “การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้นิทาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิภาพของการเรียนด้วยนิทานในอ่านออกเสียงคำพื้นฐานภาษาไทยมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนที่มีความแตกต่างจากก่อนเรียน และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์พื้นฐานโดยใช้นิทานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ณ โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสังกัดกรุงเทพมหานคร แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Custer Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยวิธีการจับฉลาก จากจำนวนทั้งหมด 4 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 1 มีจำนวน 4 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยตามมาตราตัวสะกดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยประกอบกับนิทาน รวมเป็นจำนวน 12 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัด ความสามารถในการอ่านภาษาไทย เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ ทั้งหมด 20 ข้อ และ 4)แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยจากคำศัพท์พื้นฐานเครื่องมือในการวิจัยทั้งหมดได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และปรับแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการจัดการเรียนรู้การอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้นิทาน ระยะเวลา 4 สัปดาห์ และวิเคราะห์คะแนนประเมินทักษะการอ่านภาษาไทยโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนประเมินทักษะการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบ t-test และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคำศัพท์พื้นฐานโดยใช้นิทานโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้นิทาน โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 5.94 คิดเป็นร้อยละ 29.71 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.73 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบหลังเรียนเท่ากับ 17.51 คิดเป็นร้อยละ 87.57 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.35 และมีค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าของผลการเรียนอยู่ที่ 11.57 คิดเป็นร้อยละ 59.57 เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยมาทดสอบค่า t-test พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- คุณภาพด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้นิทานจากคำศัพท์พื้นฐาน นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพของกระบวนการ E1 เท่ากับ 81.85 และค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ของคะแนนสอบหลังเรียน E2 เท่ากับ 87.57 สรุปได้ว่านิทานที่ใช้สอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย จากคำศัพท์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.85/87.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
- ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการเรียนรู้โดยใช้นิทาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The research result of “Learning Management by Using Tale to Develop Thai Reading Abilities of Grade 1 Students” the objectives of this study were to 1) study students’ achievement before and after learning by using tale to develop Thai reading abilities with efficiency criteria at 80/80 2) study the efficiency of learning Thai reading abilities before and after learning by using tale and 3) survey students happiness with learning reading abilities by using tale of Grade 1 Students. The population of this research were 140 students who registered in the second semester of the academic year of 2019 at a school under the department of Education, Bankhunthian District office, Bangkok Metropolitan Administration. The samples were 35 Prathomsuksa 1/2 students which were selected by cluster random sampling. The research instruments were 1) Four tale books for develop Thai reading abilities of Grade 1 students 2) Twelve lesson plans by using tale to develop Thai reading abilities 3) a 20 item of achievement test to develop Thai reading abilities in each objective test had 3 multiple-choice and 4) the questionnaire which had to survey student’s satisfaction when learning by Using Tale to Develop Thai reading abilities. All the instruments were validated by 3 experts and revised according to experts’ opinions. The data were collected with learning by using tale to develop Thai reading abilities for 4 weeks. The Statistics used to analyze the data and students’ satisfaction were Mean, Standard Deviation (S.D.), compare Dependent Samples t-test
The findings reveled that:
1) The efficiency of learning Thai reading abilities before and after learning by using tale who received pre-test mean score was 5.94 as a percentage at 29.71 the Standard Deviation criteria at 1.73 while the Post-test mean score was 17.51 as a percentage at 87.57 the Standard Deviation criteria at 1.35 the advancement mean score was 11.57 as a percentage at 59.57. The t-test analysis showed that the student's post-test mean was significantly higher than that of the pre-test score at the level of .01.
2) Students’ reading achievement after leaning by learning by using tale to develop Thai reading abilities showed the effectiveness pre-test scores (E1) was 81.85 while the effectiveness pre-test scores was 87.57. The conclusion from the research suggested that the effectiveness scores teaching by using tale to develop Thai reading abilities of Grade 1 Students (E1/E2) were 81.85/87.57 which were higher than the set criteria 80/80
3) The students they were very satisfied with learning through using tale to develop Thai reading abilities.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย