อิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี

Influence of Knowledge Related to the Computer Crime Act on Cyberbullying Among Secondary School Students in Chonburi Province

  • นัทธมน ทับทิมไทย นิสิตปริญญาโท สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง ภาควิชาวิจัย และจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และ2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในภาพรวมและจำแนกตามระดับชั้นปี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 6  จำนวน 1,090 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิด  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การเปลี่ยนแปลงของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 มีความแตกต่างกัน มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

  2. อิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตในภาพรวม อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สามารถอธิบายความแปรปรวนในภาพรวม ได้ร้อยละ 4.8 เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นปี อิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 อธิบายได้ร้อยละ 80 แต่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-6 ไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Abstract


The objectives of this research were; 1) the changes of  knowledge related to the computer crime act on cyberbullying  for secondary school students. 2) to examine the influence of knowledge about the computer crime act on cyberbullying  of secondary school students. The sample consisted of 1,090 students who were selected by multi-stage random sampling technique form grade 7-12 students of schools in chonburi province. The research instruments was questionnaire on knowledge related to the computer crime act on cyberbullying  . The data were analyzed by using descriptive statistics , Multivariate Analysis  of  Variance and Simple Regression Analysis


 The research finding were as follows


  1. The Changes of Computer Crime Act knowledge and the cyberbullying behavior of secondary school students. There are significant differences at .05 level

  2. The Influence of knowledge about the computer crime act behavioral on cyberbullying  of secondary school students as a whole and classified by grade level were sig at .001 (R2= 0.048 , p<.001 ). When  considered by grade level cyberbullying behavior were accounted for by  knowledge related to the computer crime act at .001 level at (R2= 0.80 , p<.001 )  of grade 7 at 80 percent, but in the grade 8 - 12 level, there is no statistical significance level at .05.

References

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิบุคคลจากการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย: ศึกษากรณีกฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber safety act) ของรัฐ Nova Scotia. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมกับความท้าทายทางภาษาและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2560). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ในระดับชั้น ม.1-3. ผู้จัดการ online, แก้ไขครั้งล่าสุด 18 มิถุนายน 2560, สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562, http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000061934

ณัฐกานต์ จันทรศิริพุทธ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์กับการเผชิญปัญหาของเหยื่อ: อิทธิพลส่งผ่านของการประเมินทางปัญญาโดยมีความเป็นนิรนามของผู้กระทำเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยา, คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐรัชต์ สาเมาะ. (2556). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธันยากร ตุดเกื้อ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนใน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เมธินี สุวรรณกิจ, “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 10 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 49

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และศิวพร ปกป้อง (2552). พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. สมาพันธ์การวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.

Englander, E. K. (2011). MARC freshman study 2011: Bullying, cyberbullying, risk factors and reporting. MARC Research Reports.Paper1.(http://vc.bridgew.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1000&context=marc_reports)

Francine, D. (2013). Cyberbullying research: New perspectives and alternative methodologies introduction to the special issue. Journal of Community and Applied Social Psychology, 23, 1-6.

Kohlberg, L. (2000). Development of Moral Character and Moral Ideology Review of Child Development Research. New York: Russell Sage Foundation.
Published
2020-06-30
How to Cite
ทับทิมไทย, นัทธมน; ทองคำบรรจง, เสกสรรค์; เจริญกฤตยาวุฒิ, สรพงษ์. อิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 206-214, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/817>. Date accessed: 26 apr. 2024.