การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน
A Study of Creative Thinking and Constructing Scientific Model Ability for Twelfth Grade Students Using Model-Based Learning
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กับหลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน ที่มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test แบบ Independent Sample และ การทดสอบ t-test แบบ One Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this research were to compare creative thinking and constructing scientific model ability after using model-based learning with traditional instruction. The results were also compared with the 70-percent criterion. The samples were obtained by cluster random sampling of 80 twelfth-grade students studying in the second semester of academic year 2019 at Wat Songtham School. There are 41 students for experimental group and 39 students for control group. The research instrument consisted of model-based learning lesson plans, traditional instruction lesson plans, creative thinking and constructing scientific model ability test. The data was analyzed using Mean, Standard Deviation, t-test for independent sample and t-test for one sample.
The results indicated that: 1) The creative thinking of twelfth-grade students after using model-based learning technique were significantly higher than the traditional instruction at the .05 level of significant. 2) The creative thinking of twelfth-grade students after using model-based learning technique were statistically significantly higher than the 70-percent criterion at the .05 level of significant. 3) The constructing scientific model ability of twelfth-grade students after using model-based learning technique were significantly higher than the traditional instruction at the .05 level of significant. 4) The constructing scientific model ability of twelfth-grade students after using model-based learning technique were statistically significantly higher than the 70-percent criterion at the .05 level of significant.
References
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(3), 86-98.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 3.
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง โครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติแบบจำลองของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สทศ. ประกาศผลสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามสังกัด ขนาดโรงเรียน ที่ตั้ง ภูมิภาค รายสาระ. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2560 จาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน): http://www.niets.or.th/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2575. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุทธิดา จำรัส. (2555). แบบจำลองและการสร้างแบบจำลองในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. เข้าถึงได้จาก https://chamrat2012.wordpress.com/2012/04/25/model-and-modeling-teaching/
Buckly, B.C. et al. (2004). Model-Based Teaching and Learning With BioLogicaTM: What Do They Learn? How Do They Learn? How Do We Know?, Journal of Science Education
and Technology, 13(1), pp. 23-41.
Gilbert, J.K., Bouter, C.J. and Elmer, R. (2000). Positioning Models in Science Education and in Design and Technology Education. In Gilbert, J.K. and Bouter, C.J., Developing Models
in Science Education, Netherlands: Kluwer Academic Publisher, pp. 3-17.
Gilbert, J.K. (2005). Visualization in Science Education, Netherlands: Springer, pp. 217-251.
Gilbert, J.K. and R. Justi. (2002). Models and modeling in chemical education. Chemical Education: Toward Research-based Practice.
Gobert. J.D. and Buckley. B.C. (2002). Introduction to Model-based teaching and learning in Science Education. International Journal of Science Education, 22(9), pp. 891-894
Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.
Johnstone. (2000). Chemical Education Research: Where from here?. Proceeding from Variety in chemistry Teaching meeting.
Kenyon, L., C. Schwarz and B. Hug. (2008). The benefits of scientific modeling. Science and Children, pp. 41-44.
Khan, K. (2007). Model-Based inquiries in chemistry. Science Education, 91, pp. 877-905.
Llewellyn, D. (2002). Inquire within: implementing inquiry-based science standards. Thousand Oaks, Calif: Corwin fress.
Rea-Ramirez, M.A., J. Clement and M.C. Núnez-Oviedo. (2008). An Instructional Model Derived from Model Construction and Criticism Theory. Springer Science, 2, pp. 23-43.
Schwarz, C.V. et al. (2009). Developing a Learning Progression for Scientific Modeling: Making Scientific Modeling Accessible and Meaningful for Learners. Journal of Research in Science, 46, pp. 632-654.
Torrance, E.P. (1962). Guiding creative talent. New Jersey: Prentice-Hall.
Torrance, E.P. (1965). Rewarding creative behavior: experiments in classroom creativity. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย