การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของความฉลาดทางดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา

Analysis of Change of Digital Intelligence in High School Student

  • ทิพวัลย์ อัตถาหาร นิสิตปริญญาเอก สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง ภาควิชาวิจัย และจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบที่สำคัญของการวัดความฉลาดทางดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 6  จำนวน 1,965 คน  เครื่องมือวัดที่ใช้เป็นแบบสอบถามรูปแบบอิงเกณฑ์ที่ ซึ่งสามารถวัดความฉลาดทางดิจิทัลได้ทั้งด้านความรู้และพฤติกรรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


ผลการวิจัย พบว่า


  1. นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 มีระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสูงกว่านักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5  ในองค์ประกอบด้านสิทธิและกฎหมายทางดิจิทัล การจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล และการใช้สื่อและอุปกรณ์เทคโนโลยีทางดิจิทัล

  1. นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 มีระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสูงกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในองค์ประกอบการรู้เท่าทันข้อมูลสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์ และความปลอดภัยทางดิจิทัล

  2. องค์ประกอบการติดต่อสื่อสารทางดิจิทัล ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในทุกระดับชั้น

  3. องค์ประกอบมารยาททางดิจิทัล พบองค์ประกอบย่อยการให้เกียรติทางออนไลน์ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 2 และ 4 มีระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสูงกว่านักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5

  4. องค์ประกอบที่มีทั้งด้านความรู้และพฤติกรรม นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ต่ำกว่าพฤติกรรม ขณะที่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแนวโน้มตรงข้ามกัน

Abstract


The research was designed to determine analyze the changing trends of important dimensions of digital intelligence (DQ) in high school student.  The grade one to six student 1,965 people were selected as the sample for the study.  The instrument used in the questionnaire was a criterion, which can measure digital intelligence in both knowledge and behavior. The statistics used in the analysis were the average of standardize scores and  test of differ between groups with the multivariate analysis  and one way ANOVA analysis at statistical significance .05


 The research finding were as follows


  1. Grade 2 students have a tendency to change higher than grade 5 students in the dimension of digital rights and law, Digital security management and digital use

  1. Grade 1 students have a tendency to change higher than senior high school student at all levels in the dimension of information and media literacy and digital safety 

  2. The dimension of digital communication, no differ between groups at all levels.

  3. The dimension of digital etiquette, find sub dimension of online reputation for  grade 1 2 and  4  students have  a tendency to change higher than grade 5 students

  4. The dimensions both knowledge and behavior, junior high school student have a tendency to change in opposition to the knowledge lower than behavior. While the senior high school student, the opposite trend.

References

ทศพร ประเสริฐสุข. (ม.ป.ป.). ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 5(1), 19 – 35. เข้าถึงได้จาก http://bsris.swu.ac.th/journal/50842/file/54.pdf

ไทยรัฐออนไลน์. (2561, 31 มีนาคม). สทศ.ประกาศ ผลสอบโอเน็ต ม.6 ปี 60 เฉลี่ยคะแนนไม่ถึงครึ่งแทบทุกวิชา. วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน 2561, เข้าถึงได้จากhttps://www.thairath.co.th/content/1243921

ประสาท มีแต้ม. (2561, 11 กุมภาพันธ์). ยุทธศาสตร์ทำให้ชาติล่มสลายโดยไม่ต้องใช้อาวุธ.วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน 2561, เข้าถึงได้จากhttps://mgronline.com/daily/detail/9610000014101

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (PISA Thailand), (2562ข, 3 ธันวาคม). ผลการประเมิน PISA 2018. เข้าถึงได้จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.), (ม.ป.ป. ก). หลักสูตรใหม่ ผลักดันสังคมไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0. เข้าถึงได้จาก http://www.ipst.ac.th/index.php/news-and-announcements/training-seminar/item/2776-4-0

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (ม.ป.ป. ข). “การเทียบเคียงตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในหลักสูตรแกนกลางฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)” เข้าถึงได้จากhttp://www.sesa17.go.th/site/images/Comparable2.pdf

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2561, 23 มีนาคม). รายงานพิเศษ พฤติกรรมออนไลน์ เด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNICT6103230010002

Child Watch Thai. (ม.ป.ป.). รายงานการศึกษาสภาวการณ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ประจำปี 2556 – 2557. เข้าถึงได้จาก www.childwatchtthai.org/projects_ newdata.php

Jones, Lisa M. & Mitchell Kimberly J. (2015, 25 March). Defining and measuring youth digital citizenship. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1461444815577797

Lalimay. (2560, 25 ธันวาคม). “เกมการ์ดพลังป้องกันเด็ก ป้องกันเด็กไม่ให้ถูกล่อลวง ด้วยเกมจำลองสถานการณ์” เข้าถึงได้จาก http://www.parentsone.com/protect-children-from-seduction-by-child-protection-cards-game/

Polit, D.F., & Beck, C.T. (2006). The Content validity index : Are you sure you know what’s being reported ? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29, 489 – 497. doi : 10.1002/nur.20147
Published
2020-06-30
How to Cite
อัตถาหาร, ทิพวัลย์; ทองคำบรรจง, เสกสรรค์. การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของความฉลาดทางดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 137-145, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/811>. Date accessed: 03 july 2024.