การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตภาคตะวันออก

A Development of indicators of public mind for lower secondary school students in the Eastern area.

  • ปิยะธิดา วรญาโณปกรณ์ piyathida@buu.ac.th
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตภาคตะวันออก  2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 990 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นสองขั้นตอน (Two-stage stratified sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 99 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และการวิเคราะห์องค์ประเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรม LISREL 8.72


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้หลัก และ18 ตัวบ่งชี้ย่อย ดังนี้ 1) การช่วยเหลือผู้อื่น มี 4 ตัวบ่งชี้ย่อย 2) การดูแลสมบัติส่วนรวม มี 3 ตัวบ่งชี้ย่อย 3) การเคารพสิทธิต่อส่วนรวม มี 3 ตัวบ่งชี้ย่อย 4) ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มี 4 ตัวบ่งชี้ย่อย 5) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มี 4 ตัวบ่งชี้ย่อย ซึ่งทุกตัวบ่งชี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมในการบ่งชี้คุณลักษณะจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

  2. ผลการตรวจสอบโมเดลการวัดตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังที่ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 250.24  p-value เท่ากับ 0.000 ณ องศาความเป็นอิสระที่ 99  ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (/df) เท่ากับ 2.51 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00  ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 ค่ากำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.017 และค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.040  

Abstract


The objectives of this research were to develop public mind Indicators for lower secondary school students in Eastern region and to develop and examine the consistency of the public mind Indicators model with the empirical data. The sample selected by two-stage stratified sampling method consists of 990 lower secondary school students in the Eastern region of Thailand. The research instrument used in this study was a five-rating scale questionnaire in a total of 99 items. Data were analyzed by using mean, standard deviation, skewness, kurtosis, Pearson correlation coefficient (using SPSS) and a second-order confirmatory factor analysis (using LISREL 8.72)


The findings were as follows:


  1. Public mind indicators for lower secondary school students consisted of 5 main indicators with 18 sub-indicators: (i) helping others (4 sub-indicators), (ii) public care (3 sub-indicators), (iii) respecting others (3 sub-indicators), (iv) social responsibility (4 sub-indicators), and (5) environmental conservation (4 sub-indicators). In addition, the finding revealed that all indicators were in accordance with the criteria indicating that all indicators suitably identified the characteristics of public mind for lower secondary school students in Eastern region.  

  2. The measurement model of public mind for lower secondary school students were consistent with the empirical data as shown in fitted indices: = 250.24, p = 0.000, df = 99, /df = 2.51, CFI = 1.00, GFI = 0.97, AGFI = 0.95, RMR= 0.017, and RMSEA = 0.040.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). แนวทางการสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. วารสารรัฐสภาสาร, 61(1),77-78.

เจษฎา หนูรุ่น. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตลักษณะของนักเรียนช่วงขั้นที่ 3 ในโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและสถิติการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2540). รายงานการวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณะสมบัติ : ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร, นครปฐม, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัคนุช หมากผิน. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีรพร สีสถาน. (2557). การพัฒนาแบบวัดจิตอาสาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการให้เกตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริลักษณ์ เลื่อนยศ. (2553). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการมีจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สายถวิล แซ่ฮ่ำ. (2559). การพัฒนาแบบวัดจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณ ขันตี. (2557). จิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัยปี 2557, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ.

อนุพนธ์ คำปัน และคณะ. (2558). การศึกษาองค์ประกอบของจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 299-313.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2555). จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สารนิพนธ์ ภาควิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อังคณา อ่อนธานี. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี. รายงานการวิจัย, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Shinichi, S. (2007). Publicness and taken-for-granted knowledge: A case study of communal land formation in rural Thailand. Discussion Papers 108, Institute of Developing Economics, Japan External Trade Organization (JETRO).
Published
2020-06-30
How to Cite
วรญาโณปกรณ์, ปิยะธิดา; งามมีฤทธิ์, ณัฐกฤตา; เจริญกฤตยาวุฒิ, สรพงษ์. การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตภาคตะวันออก. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 125-136, june 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/810>. Date accessed: 24 nov. 2024.