การจัดการการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
Education Management enhancing STEM learning in Secondary Schools under The Office of the Secondary Education Service Area 1
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติในการจัดการการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขในการจัดการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ไปใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 61 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระและครูผู้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 228 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มีระดับการปฏิบัติในการจัดการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านการส่งเสริมพัฒนา การให้รางวัล และการเสริมแรงแก่ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด แต่ด้านการนิเทศและการกำกับติดตามการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนอยู่ในระดับต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เกี่ยวกับระดับปฏิบัติในการจัดการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1 ตามขนาดโรงเรียน และตามการจัดห้องเรียนสะเต็ม ในภาพรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นผลเปรียบเทียบตามผลการทดสอบ O-NET ในภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการจัดการการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1 คือ ควรกำหนดนโยบายที่ทำได้จริง และทำความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจน การเสริมแรงด้านอื่น ๆ เช่นการให้รางวัลผู้ปฏิบัติงานจริง มีความสม่ำเสมอในการนิเทศและการติดตาม จัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมคุ้มค่า และมีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสม
Abstract
This research aims to study and compare Education Management enhancing STEM learning in Secondary Schools under The Office of the Secondary Education Service Area 1 and study problem and suggestion in Education Management enhancing STEM learning in Secondary Schools
under The Office of the Secondary Education Service Area 1Sampling group are 61 junior schools and high schools in The Office of the Secondary Education Service Area 1. Questionaire respondents are 228 school directors, vice directors, heads of department and teachers in Science Mathematics and Vocational studies. Research data are collected by using questionaire. Data analysis using percentage, mean, S.D. and T-Test. The results of this research could be concluded as follows:
It is found as follows. 1) Overall perception of the respondents on Education Management enhancing STEM learning in Secondary Schools under The Office of the Secondary Education Service Area 1 was at a moderate level. When individual aspects were considered, all aspects were at a moderate level. An aspect with the highest mean was promotion, and development, rewarding and reinforcement for teachers. An aspect with the lowest mean included supervision and regulation. 2) When the school size was compared based on STEM Education learning management, there were the differences in overall perception of the respondents on STEM Education learning management implementation in secondary schools under The Office of the Secondary Education Service Area 1 with a statistical significance level of 0.05. However, when the O-NET test results were compared, there were no differences in the perception with a statistical significance level of 0.05. 3) The problems and suggestions : management plan should be formulated and clarified to achieve mutual understandings. conducted by formulating clear, be appropriately allocated for quality and worthwhile work and using various measuring tools that are comprehensive and consistent with learning management and diversity of learners.
References
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) , 2545.
เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2555). หน่วยที่ 6 การบริหารจัดการเรียนรู้. ในประมวลชุดวิชาการจัดและ บริหารองค์การทางการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า, ชัดเจน ไทยแท้. (2545). ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร. ประมวลสาระ : การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา
ศุภกิตติ์ บุญเตี้ย. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2561.
ศุภณัฐ กาหยี. ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์. สัมภาษณ์, 18 ตุลาคม 2561.
สมบูรณ์ สุริยวงศ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิกจำกัด
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19, 15-18.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย