การวิเคราะห์จัดกลุ่มการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนอาชีวศึกษา

A Cluster Analysis of Adversity Quotient among Vocational Students

  • สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัฐธีร์ตา วัฒนประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปาริชาต ดอนเมือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ตามคุณลักษณะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากงานวิจัยเรื่อง ‘การสร้างมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา’ ของปาริชาต ดอนเมือง (2561) โดยที่การวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคใช้แนวทางของหลักธรรมทางพุทธศาสนาประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ฉันทะ (2) วิริยะ (3) จิตตะ (4) วิมังสา (5) ศรัทธา (6) สติ (7) สมาธิ และ (8) ปัญญา ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั่วประเทศไทย ปีการศึกษา 2558 รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,935 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งเปิดให้นักเรียนอาชีวศึกษาตัวอย่างเข้าไปตอบแบบสอบถามในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 ถึงมกราคม พ.ศ.2559 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยเทคนิค K-Means และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า การจัดกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ตามคุณลักษณะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคสามารถจำแนกออกเป็น 3 คลัสเตอร์ ได้แก่ คลัสเตอร์ที่ 1 เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีทักษะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคสูง คลัสเตอร์ที่สอง เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีทักษะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคปานกลาง และคลัสเตอร์ที่สาม เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีทักษะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคต่ำ โดยที่ระดับของคุณลักษณะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนในแต่ละคลัสเตอร์มีความคงเส้นคงว่าในทุก 8 องค์ประกอบของคุณลักษณะการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค


ABSTRACT


The main objective of this research was to cluster vocational students according to adversity quotient characteristics. Data used in the study was gathered from the research project, ‘The Scale Construction of Adversity Quotient According to the Buddhist Path for Vocational Students in Thailand’ conducted by Donmuang (2018). Based on Donmuang’s literature synthesis and scale development, the adversity quotient consisted of eight factors, namely: (i) Chanda (Passion), (ii) Viriya (Diligence), (iii) Citta (Mind Consciousness), (iv) Vimangsa (Investigation), (v) Sathha (Faith), (vi) Sati (Mindfulness), (vii) Samathi (Meditation), and (viii) Panya (Wit). Data were collected from 1,935 vocational students who were enrolled in the public vocational schools/colleges in the Office of the Vocational Education Commission (Thailand) throughout the whole Thai Kingdom. The research instrument was an online questionnaire which the participants were able to access between November 2015 and January 2016. Data were analysed using descriptive statistics, exploratory factor analysis (EFA), cluster analysis using K-Means technique and one-way analysis of variance (One-Way ANOVA).


The finding based on cluster analysis using K-Means technique revealed that the appropriate number of clusters was three clusters. Interestingly, it was found that the level of all eight adversity quotients was consistent in each cluster, namely ‘high’, ‘medium’ and ‘low’ adversity quotients.

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทนา เกิดบางแขม. (2554). ความหมายและคุณค่าของความรักของวัยรุ่นที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท: การศึกษาด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องจากภาพวาด. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 6(1), 52-60.

ปาริชาต ดอนเมือง. (2561). การสร้างมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2544). AQ กับความสำเร็จของชีวิต. วารสารวิชาการ. 4(9): 12-17.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient: Turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.
Published
2019-12-27
How to Cite
เจริญกฤตยาวุฒิ, สรพงษ์ et al. การวิเคราะห์จัดกลุ่มการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 571-581, dec. 2019. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/718>. Date accessed: 02 may 2024.