ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 อำเภอเมืองปทุมธานี
Administrative skills of administrators affecting the effectiveness of World class standard schools Of secondary schools under the Office of Secondary Education Service Areas Zone 4, Mueang Pathum Thani District
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 อำเภอเมืองปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามปลายปิด เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 203 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS
ผลการศึกษาพบว่า
- ประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 อำเภอเมืองปทุมธานี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 อำเภอเมืองปทุมธานี โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 อำเภอเมืองปทุมธานีด้านที่มีอำนาจพยากรณ์มากที่สุด คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ส่วนด้านความคิดรวบยอด สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 อำเภอเมืองปทุมธานีได้แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
The purpose of this research were: 1) to study the effectiveness of World class standard schools Of secondary schools under the Office of Secondary Education Service Areas Zone 4, Mueang Pathum Thani District 2) to study the relationship between administrative skills of administrators 3) to study the relationship between the administrative skills of the secondary school administrators affecting the effectiveness.The research instrument were closed ended questionnaire. The data were collected from the population consisted of 203 people, sample size 132 people by simple random method. The statistics used for data are mean standard deviation and multiple regression analysis. The data were analyzed by using SPSS program computer software package.
The result were as follow:
- The effectiveness of World class standard schools of secondary schools under the Office of Educational Service Area 4, Mueang Pathum Thani District with an average of a high level.
- The administrative skills of the secondary school administrators had a positive relationship with the effectiveness with the correlation coefficient at a high level with statistical significance.
- The administrative skills of secondary school administrators affecting to the effectiveness of world class standard schools. The most predictive power aspect is human relationships as for the concepts can share the forecast, but not statistically significant.
References
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบ คุณภาพในโรงเรียนมาตรฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561.
เฟื่องฟ้า เรืองเวชและคณะ. (2558). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร . วารสารบริหารการศึกษา มศว ปีที่ 12 ฉบับที่ 23 กรกฎาคม –ธันวาคม 2558.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วราภรณ์ พรมนิล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการ โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(2552-2561). เข้าถึงได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ http://nited.kkzone1.go.th/data/download/28-06- 2015-15-25-37_29888.pdf
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (2562). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ปทุมธานี-สระบุรี. เข้าถึงได้จาก https://www.ssps4.go.th/
สพม.4. (2561). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. เข้าถึงได้จาก https://www.ssps4.go.th/
สำนักบริหารงานการเรียนการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียน มาตรฐานสากล ปรับปรุง 2561. กระทรวงศึกษาธิการ.
Cheng, Y. C. (2000). “Cultural Factors in Educational Effectiveness: A Framework for Comparative Research,”School Leadership and Management. Vol.20 (No.2): 207-225.
Cronbach, L.J.[ April, 1951]. “Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests”. Psychometrika, Vol.6 (No.3) pp.297-334.
Katz Robert L. (1974). “Skills of an Effective Administrator” Harvard Business Review. 5(3): 55 – 58.; September – October.
Krejcie, R.V.Morgan, D.W.[June, 1970]. “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. Vol.30 [No.3]: pp.608-610.
Reynolds, D. (1990). World Class Schools: Some Methodological and Substantive findings and Implications of the International School Effectiveness Research Project (ISERP).
Slee, R. and Weiner G. (2001). Education Reform and Reconstructions as a Challenge to Research Genres: Reconsidering School Effectiveness Research and Inclusive Schooling in School Effectiveness and School Improvement. Vol.12 (No.1) : 83-98.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย