การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
THE DEVELOPMENT OF SCIENTIFICTEACHING MODEL FOR ENHANCINGCRITICAL THINKING OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณ ญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (()X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย แนวคิดรูปแบบการสอนทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากแนวคิดของนักวิชาการหลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ ขั้นการเรียนการสอนของรูปแบบที่สังเคราะห์มาจากแนวคิดรูปแบบการสอนทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณจากแนวคิดของนักวิชาการมี 7 ขั้นและการประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางการเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
These purposes of this research was to development of scientific teaching model for enhancing critical thinking of Prathomsuksa 6 students. The samples comprised 36 students by using cluster random sampling.The research instruments used were : (1) scientific teaching model for enhancing critical thinking of Prathomsuksa 6 students (2) lesson plans(3) leaning achievement test (4) critical thinking test (5) attitude in science test. The statistics used for analyzing the collected data were : mean, standard deviation and t-test.
The results were as follows: 1) The development of teaching model comprisedcritical thinking base on academicconcept : objectives, contents,7 learning processes for enhancing critical thinking and learning model evaluation. The experts evaluation on consistency was at the highest level. 2) The students’ learning achievement, as measured by pretest and posttest at the statistically significant level of .05 3) The ability of students’ critical thinking was at higher than the criteria at the statistically significant level of .05
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย