สาเหตุการออกกลางคันและแนวทางแก้ไขการออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี

Factors Affecting to Drop out and Survival Pathways of First Year Undergraduate Students of Institute of Physical Education Udonthani

  • บัณฑิต หาญธงชัย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี
  • ธีระพล เพ็งจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2557 และเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคปกติที่ออกกลางคัน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ปีการศึกษา 2557 จำนวน 105 คน จาก 3 คณะ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา บุคลากรฝ่ายสนับสนุน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี จำนวน 12 คน นักศึกษาที่ออกกลางคัน จำนวน 20 คน รวมทั้ง 32 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี ประกอบด้วยด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านสถานศึกษา ด้านครูผู้สอน ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านส่วนตัวของนักเรียน ด้านสภาพครอบครัว ด้านสภาพแวดล้อม ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา มีดังนี้ 1) การรับนักศึกษาในแต่ละปี ต้องคำนึงถึงความรู้และศักยภาพผู้เรียน 2) ปรับปรังกฎระเบียบและข้อบังคับของสถานศึกษา 3) จัดอาคารสถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เพียงพอต่อการฝึกทักษะ 4) ร่วมมือกับสถานประกอบการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี 5) จัดหาทุนเพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความประพฤติดีแต่ยากจน 6) ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น 7) จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาร่วมกับเครือข่ายในท้องถิ่น 8) ส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และทักษะให้ดำเนินชีวิตไว้อย่างมีความสุข 9) วางแผนนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนการสอน 10) จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอน 11) ส่งเสริมให้นักศึกษามีวินัยรับผิดชอบต่อตนเอง มีจิตสำนึก ความขยัน ความตั้งใจ หลีกเลี่ยงการเที่ยวเตร่ 12) เฝ้าระวังพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดูแลสุขภาพแวดล้อมของสถานศึกษา 13) ครูจะต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ความรักเมตตา 14) พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องสร้างแรงจูงใจการศึกษาดูแลให้คำแนะนำ 15) มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ด้านอาชีวศึกษา ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา 16) เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ละเว้นพฤติกรรมการวิวาท


The research aimed to study factors affecting to drop out of first year undergraduate students of institute of Physical Education Udon Thain in academic year 2014 in order to find ways to solve this problem. The samples were 205 first year undergraduate students of institute of Physical Education Udon Thain in academic year 2014 from three faculties by stratified random sampling 12 lecturers, advisors, and staff of institute of Physical Educaiton Udon Thain, and 20 drop out students were included by purposive sampling. The instrument was questionnaire. Data were analyzed by mean and standard deviation.
The results showed that. Factors of drop out were institute, teachers, curriculum and instruction, personal life, family and environment Suggestions as follows. 1) students’ knowledge and potential should be considered in admission system 2) Rules of institute be revised. 3) Building and facilities be provided adequately 4.)Enterprise cooperation should be made 5) Scholarship should be offered for good but poor students. 6) Curriculum should be revised to serve market and local businesses 7) Students should have network with local communities 8) Activities to promote students in terms of society, emotion, mental and life skills to have happy lives should be provide 9) Monitoring and evaluation should be planned properly. 10) Instructional information system should be developed 11) Activities to promote students self-discipline, self-awareness, and determination should be organized 12) Let students know how to live happily 13) Teachers should be students’ good models. 14) Parents should motivate students to have better attitude towards studying. 15) Students should have positive attitude towards studying, career and have good cooperation with institute. 16) Parents should be students’ good models

Published
2020-02-25
How to Cite
หาญธงชัย, บัณฑิต; เพ็งจันทร์, ธีระพล. สาเหตุการออกกลางคันและแนวทางแก้ไขการออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 247-271, feb. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/453>. Date accessed: 24 nov. 2024.