รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย

Potential Development Model Export Innovation Entrepreneur ship Business for Small and Medium-Sized Enterprises in Thailand

  • วิฬารี สว่างพลกรัง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • บุรพร กำบุญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศิริพร สัจจานันท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชลกนก โฆษิตคณิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านนวัตกรรมการส่งออกที่ส่งผลต่อผลดำเนินการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อนวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ (3) เพื่อสร้างแบบจำลองนวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ใช้โปรแกรม AMOS


การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) โดย     ขั้นแรก แบ่งตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ตามประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่เป็นสมาชิกของกรมส่งเสริมการค้าระหว่าประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ และตอนที่ 2 ทำการจัดสรรขนาดของตัวอย่างในแต่ละสนามแบบสัดส่วน (Proportional Allocation) เนื่องจากจำนวน SMEs ในแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) อย่างเป็นสัดส่วน เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 ราย เพื่อศึกษาการสร้างแบบจำลองนวัตกรรมการส่งออกเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ผู้วิจัยพิจาณาความเที่ยงตรงของตัวแปรแฝง (Construct Reliability: ρc และค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่ถูกสกัดได้ (Average Variance Extracted: ρv) โดยการใช้สูตรของ Dianantopoulos (2000)


ผู้วิจัยทำการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยและกำหนดให้เป็นแบบจำลองการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม AMOS เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของแบบจำลองการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit) โดยผู้วิจัยทำการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงประจักษ์ (Assessment of Model Fit) โดยดัชนีที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล (Measurement Model) กับข้อมูลเชิงประจักษ์


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ประกอบการในด้านการทำงานเชิงรุก อยู่ในระดับมาก โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการส่งออกเป็นผู้ริเริ่มด้านผลิตภัณฑ์และตราสินค้าใหม่ที่ล้ำหน้าคู่แข่ง โดยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการดำเนินธุรกิจและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง

  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการส่งออกในประเทศไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการมุ่งเน้นการตลาดในด้านการมุ่งเน้นลูกค้า อยู่ในระดับมาก โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีการส่งออกได้ทำการวิจัยตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

  3. ผลการวิเคราะห์ระดับค่าเฉลี่ยของตัวแปรคุณลักษณะของผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการตลาด ความผันผวนของสภาพแวดล้อม นวัตกรรมการส่งออก และผลดำเนินการส่งออก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผันผวนของสภาพแวดล้อมในด้านความไม่แน่นอนของตลาด อยู่ในระดับมาก โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการส่งออกให้ความสำคัญกับลูกค้าเดิมที่เคยใช้สินค้าและบริการมาก่อนโดยแนวโน้มของลูกค้ารายใหม่มีความต้องการสินค้าที่แตกต่างจากลูกค้ารายเดิม

  4. ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลแบบจำลองนวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการส่งออก ในด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการส่งออกได้ทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ออกสู่ตลาดต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ

  5. ผลการวิเคราะห์เส้นทางและสรุปผลการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) พบว่า EXIN ON SME MODEL (Export Innovation on Small and Medium Enterprises) เป็น New Model ที่สมบูรณ์แบบครบทุกอย่าง ซึ่งบางองค์กรหรือธุรกิจ อาจเลือกใช้ Model Export Innovation In Thailand บางส่วน เช่น ธุรกิจส่งออกบางอุตสาหกรรม อาจเลือกคุณลักษณะของผู้ประกอบการควบคู่กับการมุ่งเน้นการตลาด หรือการมุ่งเน้นการตลาดควบคู่กับความผันผวนของสภาพแวดล้อม เป็นต้น และท่ามกลางของสภาพแวดล้อมการแข่งขั้นที่รุนแรง เป็นสิ่งที่วิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมต้องเผชิญและมีความท้าทายอย่างยิ่งโดยเฉพาะความต้องการของลูกค้ามีความต้องการในสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวัฎจักรชีวิต ผลิตภัณฑ์ที่สั้นลงทุกขณะ ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันเหล่านั้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด เติบโตอย่างมั่นคง และมีศักยภาพทางการแข่งในตลาดต่างประเทศ

Published
2020-01-22
How to Cite
สว่างพลกรัง, วิฬารี et al. รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 135-144, jan. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/429>. Date accessed: 05 jan. 2025.