พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีกับการพัฒนานักเรียน
The Remarkable Talent of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Regarding Education and the Student’s Development
Abstract
พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี หมายถึง ทักษะที่พระองค์ท่านทรงประพฤติปฏิบัติกระทั่งเป็นพระบุคลิกภาพประจำพระองค์ท่าน ทักษะเหล่านี้ผู้วิจัยได้จากการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ปาฐกถาพระราชนิพนธ์ จำนวน 6 เล่ม และพระราชนิพนธ์ จำนวน 1 เล่ม โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านภาษา หรือทำงานในโครงการพระราชดำริ ฯ เป็นผู้คัดเลือกปาฐกถา ได้จำนวน 59 องค์ จากทั้งหมด 117 องค์ สรุปได้ว่า ทักษะด้านการศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ การแสวงหาและการบูรณาการความรู้ การแสวงหาความรู้ ประกอบด้วย ทักษะที่นักเรียนจำเป็นต้องมีทุกทักษะ คือ ทักษะการอ่าน การจดบันทึก การฟัง การพูด การถาม และการสังเกต สำหรับองค์ประกอบที่สอง คือ การบูรณาการความรู้ ทักษะนี้เกิดจากการต่อยอดจากทักษะพื้นฐาน เป็นการนำทักษะต่างๆ จากการแสวงหาความรู้มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นทักษะการแลกเปลี่ยนความรู้ การรวบรวมข้อมูล การลงมือปฏิบัติ และการเขียน ทั้งนี้จะต้องประสมกับ “ความสงสัยใคร่รู้” เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้เกิดเป็นทักษะด้านการศึกษา พระอัจฉริยภาพดังกล่าว คือ คุณลักษณะสำคัญสำหรับการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้รักในการแสวงหาความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา เป็นคุณลักษณะสำคัญของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจึงควรศึกษาและน้อมนำ พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของพระองค์ท่านมาเป็นแนวทางพัฒนาผู้เรียนต่อไป
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย