การเสริมสร้างการออมนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์

To Promote Savings of the Primary Students’ in Economics Subject

  • ณทิพรดา ไชยศิลป์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วิชิต นาชียสินธ์ วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธ์ุ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พรชัย วินทุม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธ์ุ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วราวุธ ธารสะอาด วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธ์ุ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • แก่นเพชร แฝงสีพล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

Abstract

บทคัดย่อ


             จุดมุ่งหมายเพื่อการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ บัญชีครัวเรือน ของนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งกวาง อำเภอปัว จังหวัดน่านจำนวน ๔๐ คน โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการออมในวิชาเศรษฐศาสตร์ของ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งกวาง จังหวัดน่าน ๒) เพื่อศึกษาผลการออมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีวิธีการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เกณฑ์มาตรฐาน และการหาค่าดัชนีประสิทธิผลจากผลการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม


         ผลการศึกษาพฤติกรรมการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พบว่านักเรียนรู้จักคุณค่าของเงินมากขึ้นจากการทำบัญชีครัวเรือน ทำให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักการเปรียบเทียบ ตระหนักถึงการใช้จ่ายเงิน ทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้จ่ายเงินในทางที่ดีขึ้น เมื่อเห็นผลจากจำนวนเงินออม ผ่านบัญชีครัวเรือนจึงมีแรงจูงใจที่จะเก็บออมต่อไป อย่างมีเป้าหมายและเพื่อช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีจำนวนเงินออมที่มากขึ้นและนำความสามารถความรู้เรื่องการออมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง สังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้


ABSTRAT


                 The objectives for reduction increasing and savings household of primary students case study Thung Kwang School, Nan Province for number 40 persons were as. 1) To study reduction, increasing expenditure and increasing the amount of savings household  of primary students in Thung Kwang School Nan Province. 2) To study the Group Activities to Promote Savings in Economics Subject as before and after study by collecting data from pretest and protest including student observation form. Percentage Standard Deviation Validity Difficulty The performance value of the standard reading books and Finding Effectiveness Indexes from Reading Results.


                 The results of behavior about reduction of revenue, increasing expenditure and increasing the amount of savings household account were found that students understand the value of money from making household account, how to think and how to make comparison including realization of spending money. It made students change about spending money in better way. When the result of money savings encountered throughout the household account, students have motivation to save more money and bring ability about savings in order to apply for self- development, society and country to move forward.

Published
2018-12-25
How to Cite
ไชยศิลป์, ณทิพรดา et al. การเสริมสร้างการออมนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 517-529, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/348>. Date accessed: 03 jan. 2025.