การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

IMPROVING ENGLISH SPEAKING SKILLS THROUGH MONKCHAT PROGRAM OFMAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY STUDENTS, LANNA CAMPUS

  • พระมหาชนมกร ปภากโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • สงัด เชียนจันทึก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พิรุณ จันทวาส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • กมล วัชรยิ่งยง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสาร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ที่มีเพศ ชาติพันธุ์ ชั้นปี และเกรดเฉลี่ย ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (บรรพชิต/คฤหัสถ์) ภาคปกติ  ปีการศึกษา 2/2559 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 199 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test, F – test นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบบรรยาย


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา โดยรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ที่เรียนชั้นปีที่ ต่างกัน ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสาร โดยรวมทั้ง 5 ด้าน แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนนักศึกษา ที่มีเพศ ชาติพันธุ์ และเกรดเฉลี่ย ต่างกัน มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสาร ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


ABSTRACT


The objectives of this research were as follows: 1) to study English speaking skills through Monkchat Program. 2) to compare English speaking skills through the program of the students in terms of sex, tribes, a study year, and GPA.  The sample was 199 students of Humanity, English major, and of Education, Teaching English, including lay and monk students of 2nd semester, academic year 2016. The tool of data collection was questionnaire. The statistics used for analyzing data included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results of data analysis are depicted as the table charts.


Findings were as follows: 1) the overall 5 facets of the improvement of the students on English speaking skills through Monkchat Program are high. 2) The students with different study years through the program have statistically significant differences at the 0.05 level in 5 aspects of English speaking skills, on the other hand, in terms of distinction between sex, tribes, a study year, and GPA has no differences which are not corresponding to the hypothesis.   


 

Published
2018-12-25
How to Cite
ปภากโร, พระมหาชนมกร et al. การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม Monkchat เพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 467-479, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/346>. Date accessed: 30 mar. 2024.