บรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

ORANIZATIONAL CLIMATE OF SECONDARY SCHOOLS IN SUPHANBURI PROVINCE UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 9

  • ชาญณรงค์ แสงพันตา สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9  บรรยากาศ  6  ด้าน ได้แก่ บรรยากาศแบบแจ่มใสหรือแบบเปิด บรรยากาศแบบอิสระ บรรยากาศแบบควบคุม บรรยากาศแบบสนิทสนม บรรยากาศแบบรวมอำนาจ และบรรยากาศแบบซึมเซาหรือแบบปิด


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ในจังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้นจำนวน 248 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามวัดบรรยากาศองค์การ (Organizational climate descriptionquestionnaire - OCDQ) จำนวน 32 ข้อ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า บรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.96) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบรรยากาศแบบควบคุม ( = 4.08) รองลงมาคือ  ด้านบรรยากาศแบบสนิทสนม            ( = 4.02)  ด้านบรรยากาศแบบซึมเซาหรือแบบปิด  ( = 4.02) ด้านบรรยากาศแบบรวบอำนาจ ( = 3.98) และด้านบรรยากาศแบบแจ่มใสหรือแบบเปิด ( = 3.89) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านบรรยากาศแบบอิสระ                 ( = 3.76) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ควรปรับปรุงบรรยากาศองค์การในด้านบรรยากาศแบบอิสระให้ดียิ่งขึ้น


                 The purpose of this research was to study the organizational atmosphere of the secondary schools in Suphanburi Secondary Educational Service Area Office 9. The 6 atmospheres were including bright or open atmosphere, free atmosphere, controlled atmosphere, intimate atmosphere, combine power atmosphere, and sluggish or closed atmosphere.            This research was quantitative research. The samples used in the research were secondary school teachers. The sample consisted of 248 students randomly sampled by the simple random sampling method. The instruments used in this study were five-level questionnaire. Analyzed data by social and science program. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.


          The research found that organizational of secondary schools in Suphanburi province under Suphanburi Secondary Education Service Area Office 9, in overall picture, was at a good level (= 3.96). When considered individually, it was found that the highest mean value was the controlled atmosphere (= 4.08), followed by the intimate atmosphere (= 4.02), the sluggish or closed (=  4.02), combine power atmosphere (= 3.98), and bright or open atmosphere (= 3.89). The lowest mean was the independent atmosphere (= 3.76). The result of this research revealed that the independent atmosphere in the secondary schools in Suphanburi province under Suphanburi Secondary Education Service Area Office 9 should be improved.

Published
2020-02-25
How to Cite
แสงพันตา, ชาญณรงค์; บุศรากูล, ธีระพงศ์. บรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 219-232, feb. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/331>. Date accessed: 03 may 2024.