การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

A Study of Desirable Characteristic of Primary School Students in Wiset Chai Chan District under Angthong Primary Educational Service Area Office

  • พนิดา โชคพิพัฒน์ไพบูลย์ สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ธีระพงศ์ บุศรากูล สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองใน 8 ด้านได้แก่ ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้านซื่อสัตย์สุจริต ด้านมีวินัย ด้านใฝ่เรียนรู้ ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านรักความเป็นไทย ด้านมีจิตสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในจำนวน 136 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านมีวินัย ( = 4.25) รองลงมา คือ ด้านรักชาติศาสน์กษัตริย์ ( = 4.25) ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ( = 4.21) ด้านใฝ่เรียนรู้ ( = 4.21) ด้านซื่อสัตย์สุจริต ( = 4.16) ด้านมีจิตสาธารณะ ( = 4.04) ด้านอยู่อย่างพอเพียง ( = 3.90) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านรักความเป็นไทย ( = 3.85) อยู่ในระดับมาก ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 5 คน พบว่า ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในแต่ละโรงเรียนจะมีการปลูกฝังคุณธรรมอันพึงประสงค์ด้านรักชาติศาสน์กษัตริย์แก่นักเรียนโดยการสอดแทรกในกิจวัตรประจำวัน ซึ่งการเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ การสวดมนต์แผ่เมตตาปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหาร คุณครู ผู้ปกครอง ช่วยกันอบรมสั่งสอนนักเรียนและแทรกคุณธรรมระหว่างสอน ปลูกฝังคุณธรรม ด้านความซื่อสัตย์สุจริตให้นักเรียนรู้จักและคำนึงถึงความถูกต้อง และ ไม่นำของของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่โกหก พูดแต่ความจริง สอนซ้ำ ๆ เน้นย้ำเสมอ ด้านมีวินัย เสริมสร้างวินัยแก่นักเรียน ปลูกฝังให้นักเรียนประพฤติตนตามระเบียบวินัยของโรงเรียนแต่งกายถูกระเบียบ ปฏิบัติตนตามกฎของห้องเรียน จัดกิจกรรมกลุ่มให้นักเรียนทำบ่อย ๆ ฝึกให้นักเรียนทำงานเป็นทีม เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ด้านใฝ่เรียนรู้ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นตรงกันว่าเราจะปลูกฝังคุณธรรมอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้โดยให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีการเชิญวิทยากรในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียน ด้านอยู่อย่างพอเพียง ทางโรงเรียนจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง แก่นักเรียน จัดกิจกรรมออมเงิน สอนให้นักเรียนรู้คุณค่าของเงิน เน้นเรื่องความประหยัดใช้ของอย่างรู้คุณค่า ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ปิดน้ำไฟ ทุกครั้งหลังเลิกใช้ เน้นย้ำในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติจริง ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงาน เอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมายตั้งใจทำงานจนเกิดความสำเร็จ มีความพยายามมีความคิดสร้างสรรค์ในผลงาน สามารถแก้ปัญหาจนงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มอบหมายงานให้นักเรียนทำบ่อย ๆ ฝึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านรักความเป็นไทย ทางโรงเรียนมีการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนรักความเป็นไทย รักประเพณีไทย กินของไทย ใช้ของไทย ใช้ภาษาไทย สื่อสารด้วยภาษาไทยที่ถูกต้องและชัดเจน มีมารยาทงามอย่างไทยมีการประกวดมารยาทงามแต่ละสายชั้นแต่งกายแบบไทยในการร่วมกิจกรรมของโรงเรียนเช่น กิจกรรมวันปีใหม่ วันลอยกระทง เน้นทุกสาระการเรียนรู้ ด้านมีจิตสาธารณะสอนให้นักเรียนรู้จักเสียสละรู้จักแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานเพื่อสังคม ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสากับทางชุมชน ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถเป็นประโยชน์ต่อ ระดับชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารในด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น


    The objective of this study is to explore the eight fundamental moral characteristics of primary students in Wiset Chai Chan district, Angthong province in order to benefit instructional model development. The eight moral characteristics are Love of nation, Religion and king, Public-mindedness, Self-discipline, Cherishing Thai-ness, Avidity for learning, Honesty and integrity, Dedication and commitment to work,


    The samples used in this study were 136 teachers under Angthong Primary Education Service Area Office. Then stratified random sampling was conducted, using school strata followed by simple random sampling. The instrument used for data collection was a 5-level rating scale questionnaire. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and in testing hypotheses were t - test, F – test and One - Way ANOVA. The research results found as follows. The morality and ethics according to students' desired characteristics in education opportunity extension schools under Angthong Primary Education Service Area Office in the opinions of the teachers as a whole was at the high level. When considered by individual aspects most of them were at the high level ( = 4.10); arranged in descending order of mean as follows: Self-discipline ( = 4.25 ), Religion and king ( = 4.25), Dedication and commitment to work ( = 4.21 ), Avidity for learning ( = 4.21), Honesty and integrity ( = 4.16 ), Public-mindedness ( = 4.04), Love of nation ( = 3.90), Cherishing Thai-ness ( = 3.85).


    The result of the interview five school administrators, under the Office of Angthong Primary Educational Service Area, found that in each school will have its moral purpose. Respect for the national flag. Sing national song and kindness prayer practices of their religion, to profess Honesty and integrity, teacher, parents helping each other with training to teach students and teach moral virtue between the honest side, students know and observe the accuracy not of others. Do not lie. Self-discipline, encouraging students to behave according to the discipline of the school dress code is a mess. Behave according to the rules of the classroom of group events, students do often give students practice teamwork. Respect for the opinions of other. Avidity for learning management reviews directly to its moral purpose by pursuing learning, students participate in learning activities. Seek out learning both inside and outside the school regularly. Love of nation, invited lecturer in the community educating students is sufficiently. The school organized awareness activities with the philosophy of sufficiency economy enough money saving activities organized for students, teaching students to know the value of money. Focus on the use of savings with valuable water-saving energy. Turn off the water, electricity and every time after use. Emphasize in each group, the department of learning for students. Dedication and commitment to work, let the students are responsible for the work. Care assignments, work until success. An attempt was made to. Creative works: able to solve assigned tasks successfully delegated tasks, student’s frequently training staff responsibility is for Thailand. The school has an awareness of students. Cherishing Thai-ness, love the tradition of Thailand. Use Thai language in correct and clear. Participate in school events such as New Year's Day, Loy Krathong Day. Public-mindedness, teach students to recognize the sacrifice known share of things to others. Activity organize a community, student known to social work, students participate in volunteer activities with the community.


    To the end, the results are useful to improve and develop management and academic activities according to the curriculum, there is a much more suitable.


 

Published
2020-02-25
How to Cite
โชคพิพัฒน์ไพบูลย์, พนิดา; บุศรากูล, ธีระพงศ์. การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในอำเภอวิเศษชัยชาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 233-246, feb. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/329>. Date accessed: 05 jan. 2025.