ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้น การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
Management Skills in The 21st Century of School Administrators under Angthong Primary Educational Service Area Office
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ใน 5 ด้านได้แก่ ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์และการเป็นตัวของตัวเอง ด้านทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม ด้านการเป็นผู้สร้างหรือผลิตและรับผิดชอบเชื่อถือได้ และด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 285 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้สูตรตามวิธี Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัย 1) ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว ( = 4.71) รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ( = 4.70) ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์และการเป็นตัวของตัวเอง ( = 4.66) และด้านการเป็นผู้สร้างหรือผลิตและ
รับผิดชอบเชื่อถือได้ ( = 4.65) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม ( = 4.64) 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง พบว่า ครูที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การบริหารงานของผู้บริหาร ต่างกัน เห็นว่า ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ไม่แตกต่างกัน แต่ครูที่มีประสบการณ์การสอนต่าง เห็นว่า ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารสถานศึกษาในด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัวให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
This research aimed to 1) to study management skills in the 21st century of school administrators under Angthong Primary Educational Service Area Office in five dimensions: flexibility and adaptability, creativity and be yourself, social skills and cross cultural skills, manufacturer and reliable, and leadership and responsibility. 2) To compare the management skills in the 21st century of school administrators under Angthong Primary Educational Service Area Office classified by personal status of administrators.
The samples were 285 administrators under the Office of Angthong Primary Educational Service Area selected by Simple Random Sampling. This research is Quantitative research. The instrument used in this research was a five-rating questionnaire. The statistics employed were mean, standard deviation, t - test, F - test, and one - way analysis. If found the difference statistically significant 0.05 level, using Least Significant Difference (LSD).
According to reserch 1) management skills in the 21st century of school administrators under Angthong Primary Educational Service Area Office was at the high level (x = 4.67). When considering each dimension, found that the highest average is flexibility adaptability ( x= 4.71). Next, leadership and responsibility (x = 4.70). Creativity and be yourself (x = 4.66) and manufacturer and reliable ( x= 4.65). The section in lowest average was social skills and cross cultural skills ( x= 4.64). 2) Compare the skill of management of School Administrators under Angthong Primary Education Service Area found that, teacher with gender, age, and work experience had opinion toward the skill of management of School Administrators under Angthong Primary Education Service Area overall and each no difference. In another hand, teacher with difference work experience had opinion toward the skill of management of School Administrators under Angthong Primary Education Service Area significantly different at a statistical level of 0.05. The results of this research can be useful for school administrators to improve and develop education on flexibility and adaptation.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย