การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STADร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
The Development Cooperative Learning Activity Using Student Teams Achievement Division (STAD) technique with Fundamental Mathematics Packages of Program Mathematics of the Students at Faculty of Education, Loei Rajabhat university
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 72 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 76.58/75.12 (2) ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.4454 (3) นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were; 1) to develop cooperative learning activity using student teams achievement division technique with fundamental Mathematics packages by the efficiency with criteria set at 75/75 2) to find effectiveness indices of cooperative learning activity using student teams achievement division technique with fundamental knowledge mathematics packages 3) to compare fundamental Mathematics achievements between pretest and posttest using cooperative learning activity using student teams achievement division technique with fundamental Mathematics packages 4) to compare fundamental Mathematics achievements after using cooperative learning activity using student teams achievement division technique with fundamental Mathematics packages with criteria set at 70% The sample of this research were 72 by the use of stratified random sampling, level 1-4 Mathematics students in 2/2016 academic year.
The findings were as follows: 1) develop cooperative learning activity using student teams achievement division technique with fundamental Mathematics packages had efficiency of 76.58/75.12 which higher than the standard criteria set at 75/75 2) the effectiveness index of cooperative learning activity using student teams achievement division technique with fundamental Mathematics packages was equal to 0.4454 3) The result of the comparing on Mathematics achievements between pretest and posttest showed that the posttest was higher than pretest at statistically significant level .05 4) The result of the comparing on Mathematics achievements between posttest and criteria of 70 % showed that the posttest was higher than criteria of 70 % at statistically significant level .05
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย