ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในจังหวัดระยอง
Factors Affecting toward Students Discipline Development of Lower Secondary School According to the Opinions of Secondary School Teachers under the Secondary Educational Service Area Office 18 in Rayong Province.
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในจังหวัดระยอง จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียน มีอำนาจจำแนกระหว่าง .41 - .84 ค่าความเชื่อมั่น .87 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาวินัยนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .30 - .74 มีค่าความเชื่อมั่น .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียน ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
2) การพัฒนาวินัยนักเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียนกับการพัฒนาวินัยนักเรียน โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายการพัฒนาวินัยนักเรียน มีเพียง 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (X4) และปัจจัยจากตัวนักเรียน(X1) สามารถพยากรณ์การพัฒนาวินัยนักเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 1.99 + 0.30(X4) + 0.08(X1)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.42(Z4) + 0.18(Z1)
Abstract
This research aims to study the factors affecting toward students discipline development of lower secondary school according to the opinions of secondary school teachers under the secondary educational service area office 18 in Rayong Province. The samples used in this study were teachers 285 personnel’s. The research instrument employed for the data collection was a set of rating-scale questionnaires. The questionnaire was used to examine factors influencing the development of student discipline. Has the power to distinguish between .41 and .84 Confidence Values .87 and Student Discipline Development Questionnaire. There was a statistically significant difference between .30 - .74 and the reliability was .92. Data was analyzed by using computer program for calculating the mean, standard deviation (S.D.), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The regression equations for predicting the dependent variables were created by using stepwise multiple regression analysis method.
The research found that
1) Factors affecting student discipline development. According to the opinions of secondary school teachers under the Office of Educational Service Area Overall and individual at the moderate level.
2) Student Discipline Development overall and individual at the moderate level.
3) Factors Affecting Student Discipline and Student Discipline Development. The overall and individual aspects are positively correlated. On a relatively low level statistically significant at the .05 level.
4) Factors Affecting Student Discipline and Discipline Development are only two factors: school environment (X4) and student (X1) factors. The predicted equation in terms of raw scores and standard scores was as follows.
Equation predictions in raw score.
Y = 1.99 + 0.30(X4) + 0.08(X1)
Equation in standard score.
Z = 0.42(Z4) + 0.18(Z1)
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย