การสร้างมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา

The Construction of Adversity Quotient with Buddhist Scale for theVocational students.

  • ปาริชาติ ดอนเมือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดลดาว ปูรณานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนามาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา ด้านความตรง ความเที่ยง 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับประเทศ และ 4) จัดทำคู่มือการใช้มาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั่วประเทศ จำนวน 437,269 คน ปีการศึกษา 2555  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 2,926 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) มาตรวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ด้วยวิธีหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม (Third order confirmatory factor analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL version 8.72 และตรวจสอบความเที่ยงตามตามทฤษฎี การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดด้วยโปรแกรม EduG


ผลการวิจัยพบว่า


1) มาตรวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านที่ 1 ฉันทะ ด้านที่ 2 วิริยะ ด้านที่ 3จิตตะ ด้านที่ 4 วิมังสา ด้านที่ 5 ศรัทธา ด้านที่ 6 สติ ด้านที่ 7 สมาธิ ด้านที่ 8 ปัญญา คัดเลือกได้จำนวน 87 ข้อ


2) คุณภาพของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) อยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 3.65 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าโมเดลองค์ประกอบของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 193.45 มีองศาอิสระเท่ากับ 100 และดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.93 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เทํากับ 0.99 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบอันดับสาม มีค่าระหว่าง 0.079 ถึง 0.98 มีค่าสัมประสิทธิ์สรุปอ้างอิงเท่ากับ 0.981


3) เกณฑ์ปกติระดับประเทศของมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา มีคะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ของคะแนนรวม ตั้งแต่ 0.18 ถึง 99.21 และคะแนนทีปกติ ตั้งแต่ 14 ถึง 74


 


The purpose of the research were 1) To develop the construction of adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students, 2) to investigate the validity and reliability of adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students, 3) to construct the national norms of adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students and 4) to create the handbook of adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students. The population were was 437,269 vocational students under the vocational education commission, in the academic year 2012.The samples were 2,926 vocational students by the multi-stage random sampling.  The adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students consisted of 8 factors: Chanda, Viriya, Citta, Vimangsa, Sattha, Sati, Samathi and Panya. The data were analyzed content validity by IOC and construct validity by the third order confirmatory factor analysis through LISREL 8.72 program. The reliability was estimated according to the generalizability theory with EduG program.  The results of research finding were as follows:


1)There were 87 items of adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students consists of 8 factor include Chanda, Viriya, Citta, Vimangsa, Sattha, Sati, Samathi and Panya.


2) The index of content validity of the developed online professional aptitude test was found to be from 0.60 to 1.00. The discrimination power of the item (a) was found to be from 0.21 to 3.65. The construct validity was found that the chi-square was 193.45, the degree of freedom was 100 and GFI was 0.96. AGFI was 0.93. CFI was 0.99. Considering the factor loading value of each factor with the third-order confirmatory factor analysis, it was found to be from 0.079 to 0.98. The Generalizability Coefficient was found to be 0.981


3) The national norms of adversity quotient with Buddhist scale for the vocational students had the percentile of total score were from 0.18 to 99.21 with a normalized T-score of 14-74.

Published
2018-12-28
How to Cite
ดอนเมือง, ปาริชาติ et al. การสร้างมาตรวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนววิถีพุทธของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 210-224, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/297>. Date accessed: 23 dec. 2024.