การพัฒนานักศึกษาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Student Development in Using English for Cultural Communication, a Case Study of English Major Students at Ubon Ratchathani RajaBhat University.

  • พิกุล สายดวง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานักศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมในการสื่อสาร 2) พัฒนานักศึกษาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรมและ 3) พัฒนานักศึกษาในการออกแบบฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ละครสั้นภาษาอังกฤษ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจำแนกถ้อยคำ หรือข้อความที่กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็น แล้วนำมาตีความ สังเคราะห์ และวิเคราะห์ด้วยหลักแห่งเหตุผล สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย อภิปรายถึงข้อเท็จจริงที่ค้นพบตามสภาพการณ์ ปรากฏการณ์ ความสัมพันธ์ และประเด็นสำคัญ เพื่อตอบคำถามการศึกษา


ผลการวิจัย พบว่า 1)  การพัฒนานักศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมในการสื่อสาร ทำได้โดยการใช้ระเบียบกระบวนการวิจัย และการจัดกิจกรรมพื้นฐานเพื่อเพิ่มองค์ความรู้และสร้างตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะการทอผ้าไหมในท้องถิ่นให้แก่นักศึกษา โดยเป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองบ่อและนักศึกษา ส่งผลให้นักศึกษามีความสนใจใฝ่รู้ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาและคนในชุมชนเกิดการรับรู้ร่วมกัน เกิดความตระหนักถึงคุณค่า หวงแหนในศิลปะการทอผ้าไหมของท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางพัฒนาชุมชนร่วมกัน 2) การพัฒนานักศึกษาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรม โดยเน้นกระบวนการวิจัยและการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งมีทั้งหมด 6 กิจกรรม หลังจากนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ส่งผลให้นักศึกษามีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการคิดที่สมเหตุสมผล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน สามารถทำงานร่วมกันคนอื่นได้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ข้อมูลที่ได้สืบค้นมาพัฒนาชุมชนของตนอย่างเป็นรูปธรรม ดังปรากฏได้จากกระบวนการที่นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำดังนี้ ต้นน้ำ คือ การค้นหาโจทย์วิจัย กลางน้ำ คือ การสืบค้นข้อมูล การแสดงละครสั้นภาษาอังกฤษและปลายน้ำ คือ การนำละครสั้นภาษาอังกฤษไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนในชุมชนได้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตน 3) การพัฒนานักศึกษาในการออกแบบฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรม เป็นฐานข้อมูลเว็บไซต์ ซึ่งเกิดจากความต้องการของชุมชนและนักศึกษา เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์การทอผ้าไหมของบ้านหนองบ่อให้ นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับทราบข้อมูลของชุมชนโดยละเอียด


This qualitative research aims 1) to develop students by creating knowledge of cultural communication, 2) to develop students in using English for cultural communication, and 3) to develop students by designing a database and using information technology to support the use of English for cultural communication. The subjects of the study were 20 fourth year English major students at Ubon Ratchathani Rajabhat University, the data was collected during the second semester of 2016. The instruments were an English short role play, in-depth interviews, and a participant observation form. Data was analyzed by using content analysis by identifying words or messages from participants’ opinions and interpreting, synthesizing, and analyzing them logically. Analytic induction was used for the conclusion. Discussion was based on facts empirical data from situations, incidents, relationships, and significant issues in order to answer the research questions.


   The finding revealed that 1) student development as a result of creating knowledge of cultural communication was made by using a  research base approach and managing an activity to enhance knowledge and raise awareness of the importance of local silk weaving. The activity was collaborative learning between the students and a local philosopher in the silk weaving community at Ban Nong Bo. This method clearly raised students’ interest and enthusiasm after participating in the activity. Moreover, the results showed that students and local villagers together develop their awareness of the value of local silk weaving. This method also supported a collaborative community development in the community. 2) Student’s development of using English for cultural communication was done by emphasizing of research base approach and community participation. Six activities for collaborative sharing and exchanging knowledge were held. After participating in the activities, the students developed their systematic thinking skills and logical thinking processes. They also thought of common interests rather than personal interests. Moreover, they were able to work with others with wide vision and were able to transfer their knowledge and information that they had gained to develop the local community. The process consisted of identifying the research problem, followed by, searching for relevant information and performing an English role-play, finalising in the transfer of knowledge, awareness, and the value of local wisdom, via the role-play, to the youth in the community. 3)  Student development by designing a database and using information technology to support the use of English for cultural communication was done by creating a database website that followed the identified needs of the community and students to publicize local silk weaving in Ban Nong Bo and also to Thai and foreign tourists who seek detail about the community.

Published
2018-12-28
How to Cite
สายดวง, พิกุล. การพัฒนานักศึกษาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 115-130, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/293>. Date accessed: 23 dec. 2024.