ความแตกต่างของอุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชาน
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความแตกต่างของอุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชาน ซึ่งผู้เขียนได้สรุปแนวคิดไว้ดังนี้ 1.อุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ หมายถึงการเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่งที่อาศัยคุณสมบัติและลักษณะที่เหมือนกัน 2.อุปลักษณ์ตามแนวคิดภาษาศาสตร์ปริชาน หมายถึง คำศัพท์หรือวลีที่มีความหมายประจำรูปภาษาอยู่ในแวดวงความหมายหนึ่ง เมื่อนำไปใช้ในปริบทอื่นก็จะมีความหมายใหม่ ซึ่งเป็นการเน้นความหมาย เพื่อต้องการสร้างอารมณ์และปลุกเร้าอารมณ์ของผู้ฟังหรือผู้อ่านให้เกิดอารมณ์คล้อยตามผู้พูดหรือผู้เขียน 3.อุปลักษณ์ตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน หมายถึง คำศัพท์ วลี และประโยค ถูกนำไปใช้ในปริบทหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายประจำรูปภาษา ต้องอาศัยการเชื่อมโยงทางความหมายจากความหมายประจำรูปภาษาที่มีคุณสมบัติ ลักษณะ และอาการ ที่คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ความคิด และความเข้าใจโลกของผู้ฟังหรือผู้อ่าน ในการตีความหมายซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นระบบความคิดของผู้ใช้ภาษา
คำสำคัญ : อุปลักษณ์ โวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชาน อรรถศาสตร์ปริชาน
Abstract
This article has the objective for presenting the difference of the metaphor under the categories Figures of Speech, Cognitive Linguistics and Cognitive Semantics approach the author predicates concept that are : 1. Metaphors under the Figures of Speech approach allude comparing anyone thing with anyone depending the duplicate property and manner. 2. Metaphors under the Cognitive Linguistics approach allude vocabulary or phrase which have language definition being in the special meaning when to be brought using in an another context incurring a news meaning and to be highlighting of meaning for making emotion and actuating emotion of the audience or reader in conjunction with speaker or author. 3. Metaphors under the Cognitive Semantics approach allude vocabulary phrase and sentence are brought using in any context which doesn't interest language definition, to have to resort connection of meaning from language definition which have an approximate property aspect and behavior by resorting experience knowledge and the audience or reader's understanding the world in the interpretation which to be thought system reaction of language user.
Keywords: Metaphor, Figurative Language, Cognitive Linguistics, Cognitive Semantics
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย