โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

A STRUCTURAL EQUATION MODEL OF APPRECIATIVE LEADERSHIP FOR SECONDARY SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION

  • ปุณยวีร์ อวยชัยสวัสดิ์ นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำพลังบวก 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการ และประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำพลังบวกที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาน้ำหนักอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำพลังบวก ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 880 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรวัดแบบประเมินค่าภาวะผู้นำพลังบวกกับปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.974 สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา สถิติอ้างอิงโดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. 1. ระดับภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

  2. 2. ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของตัวแปรปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความร่วมมือของคนในองค์การ ประสบการณ์ภาวะผู้นำ และทักษะภาวะผู้นำ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. 3. โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 49.45, df = 40, GIF = 0.99, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.02, CN = 1103.64)

  4. 4. ปัจจัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีน้ำหนักอิทธิพลรวมสูงสุดต่อภาวะผู้นำพลังบวกเท่ากับ 0.54 มีน้ำหนักอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.78,-0.24 ตามลำดับ รองลงมาคือ ปัจจัยทักษะภาวะผู้นำมีน้ำหนักอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.47 มีน้ำหนักอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อม 0.60,-0.13 ตามลำดับ ปัจจัยประสบการณ์ภาวะผู้นำมีน้ำหนักอิทธิพลรวมและอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.26,-0.12 และลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัยความร่วมมือของคนในองค์การมีน้ำหนักอิทธิพลรวมและอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.36 โดยสัดส่วนความเชื่อถือได้ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่อธิบายภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร้อยละ 68

ABSTRACT


            The objectives of this research were: 1) to study and compare the level of appreciative leadership 2) to study and compare factors influencing appreciative leadership of the executive of secondary school under Office of the Basic Education Commission (OBEC) classified by gender, age, and experience in performing government service and educational administration, 3) to examine the consistence of the developed structural equation model of appreciative leadership and the empirical data, and 4) to investigate the size of direct, indirect, and overall influence of casual factors affecting appreciative leadership. Three hundred eighty education administrators use in the were selected by multi-stage. The instrument used in this study included the checklist and the rating scale of leadership with causal factors, including reliability coefficient 0.974. The statistic used for data analysis was descriptive statistic and inferential statistic analyzing by SPSS statistics 17.0 BASE for windows and linear structural relationship LISREL Programs. The research result found that:  


  1. 1. The mean of appreciative leadership of the executive of Secondary School under OBEC was in high level. The comparison classified by gender, age, and experience in performing government service and educational administration showed the indifference in statistical significance.

  2. 2. Level of the four factors influencing the appreciative leadership of the executive of Secondary School under OBEC was as follows. Social interaction cooperation of staff in organization leadership experience and leadership skills found a mean value at “High to Highest” level. with statistical significance at 0.05.

  3. 3. As for the structural equation model for appreciative leadership for secondary school administrators under the Office for Basic Education Commission that developed by the researcher, included goodness of fit with empirical data. ( = 49.45, df = 40, GIF = 0.99, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.02, CN = 1103.64)

  4. 4. As for the social reaction, it was the highest total influence appreciative leadership = 0.54, direct and indirect influence = 0.78, -0.24 respectively. For second order, it was the leadership skills had total influence = 0.47, direct and indirect influence = 0.60, -0.13 respectively. the third order had total and direct influence = 0.26, -0.12, And the last order had total and direct influence = -0.36. The proportion in reliability coefficient of casual factors could explain the appreciative leadership for secondary school administrators under the Office for Basic Education Commission for approximately 68% 

Published
2018-12-28
How to Cite
อวยชัยสวัสดิ์, ปุณยวีร์. โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 72-89, dec. 2018. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/196>. Date accessed: 29 mar. 2024.