การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

Management of School Sufficiency Economy Philosophy in the Opinion School of Administrators and Teachers under Chainat Primary Educational Service Area Office

  • ลวัณรัตน์ ชัยกิจธนาภรณ์ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำแนกตามตำแหน่ง เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาสังกัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำนวน 336 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.893 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี (L.S.D.) ของฟิชเชอร์ (Fisher)


ผลการวิจัยพบว่า


1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านบริหารทั่วไป และ 4) ด้านงบประมาณ


2. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง เพศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาสังกัด ภาพรวมไม่แตกต่างกัน


 


ABSTRACT


This research aimed to : 1) study management of school sufficiency economy philosophy in the opinion school of administrators and teachers under Chainat primary educational service area office : and 2) compare the management of school sufficiency economy philosophy in the opinion school of administrators and teachers under Chainat primary educational service area office classified by position, gender, age, education background, work position, size of school. Drawn by stratified random sampling, the sample group includes three hundred and thirty six (336) administrators and teachers under Chainat primary educational service area office. Validated by selected experts, the main research tool was a five - point - scale questionnaire with a level of reliability of 0.893. The questionnaire responses were analyzed using various statistical techniques including means, standard deviation, t - test, the one - way analysis of variance (ANOVA) and L.S.D. method (Fisher’s)


The findings indicated that:


1. The management of school sufficiency economy philosophy in the opinion school of administrators and teachers under Chainat primary educational service area office in overall and every aspect were rated at a high level ranking from : 1) policy , 2) academic, 3) general management, 4) budget.


2. Compare the management of school sufficiency economy philosophy in the opinion school of administrators and teachers under Chainat primary educational service area office when classified by gender different significance level of .05 position, age, education background, work position, size of school was statistically significant not different.

Published
2017-06-30
How to Cite
ชัยกิจธนาภรณ์, ลวัณรัตน์. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 1-16, june 2017. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/147>. Date accessed: 04 may 2024.