การเขียนตามคำบอกเป็นเครื่องมือพัฒนาประสิทธิภาพการเขียนภาษาอังกฤษของ นักศึกษาใน มหาวิทยาลัยเอกชน

  • สุธิดา โอวัฒนกุล สถาบันการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ธารินี กิตติกาญจนโสภณ สถาบันการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Abstract

การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการพัฒนาทักษะการฟัง การอ่านและการเขียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ในวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชน ต่อวิธีการเรียน เขียนตามคำบอก (Dictation) โดยมีกลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 (ภาคปกติ) กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้พัฒนาหาคุณภาพ จำนวน 7 แผน ใช้เวลา 7 สัปดาห์ ใช้เวลาในการสอน 21 คาบเรียน/สอน ซึ่งประกอบด้วยวิธีการสอน 5 ประการ คือ ข้อ 1. การเขียนตามคำบอกช่วยทำให้ความจำในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ดีขึ้น ข้อ 2 การเขียนตามคำบอกช่วยเพิ่มทักษะการฟัง ข้อ 3 แบบฝึกหัดการเขียนตามคำบอกช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะก่อนการเรียนเขียนตามคำบอกได้ ข้อ 4 การแก้ไขคำผิดจากแบบฝึกหัดที่เขียนตามคำบอกเป็นการตรวจความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่เขียนได้ดีขึ้น และ ข้อ 5 การตรวจสอบการเขียนด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาด้านไวยากรณ์ การสะกดคำ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ดีขึ้น


ผลการวิจัยพบว่า


จากข้อสังเกตและแบบบันทึกสรุปว่า การแก้คำผิด การรับรู้ประโยชน์ต่อการเรียนเขียนตามคำบอกส่งผลต่อการสอนการเขียนและการฟังได้ในระดับปานกลาง ส่วนผู้เรียนได้แสดงทัศนคติต่อการการพัฒนาทักษะการฟังและการเขียน เรียงตามลำดับดังนี้ (1) การทำแบบฝึกหัดการเขียนตามคำบอกช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะก่อนการเรียนเขียนตามคำบอกได้ ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60 (2) เห็นด้วยในข้อ 2 และข้อ 5 ที่ว่า การตรวจสอบการเขียนด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาด้านไวยากรณ์ การสะกดคำ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ดีขึ้น ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 55 และ (3) กิจกรรม อื่น ๆ เช่น การแก้ไขคำผิดจากแบบฝึกหัดที่เขียนตามคำบอกเป็นการตรวจความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่เขียนได้ดีขึ้น บางส่วนแสดงความเห็นในทางยังไม่มั่นใจ หรือคิดเป็นร้อยละ 45 แต่ผู้เรียนคิดว่าจำเป็นต้องมีการเรียนเขียนด้วยการผสมผสานกับการเรียนเขียนตามคำบอกด้วยการใช้กิจกรรมต่าง ๆ ประสมกันหรือโดยการใช้สื่อของจริง


This research aimed to study attitudes toward the skills development; Listening. Reading and Writing of 150 students (the second year) in English subject of Private Universities. For the quality instructional plans-methods, 7 plans spent 7 weeks, in 21 classes teaching. It consists of 5 teaching methods: 1. Dictation helps to shorten memory time. Dictionaries help improve listening skills. 3. Dictation exercises help people. 4. Correcting mistakes from dictation exercises improves the understanding of the written passage and 5. Examines writing with the correct words, make learners better understand grammar, spelling, and punctuation issues.


The results of research found that


From the observations and notes, there was concluded that correcting perceptions of perceived benefits to dictation teaching were at moderate impact on teaching, writing and listening. Learners show their attitudes toward listening and writing skills development. In the following order: (1) Dictation exercises enable the learners to have skills before the dictation at moderate level, of 60 percentage. (2) Self-written exams help students better understand grammar, spelling, and punctuation issues were at moderate levels, of 55 percentage, and (3) other activities, such as correcting mistakes from dictation exercises, to better understand the written content. Some opinion in the way was not confident or accounted for 45 percentage. But students think that they need to learn writing in combination with dictation by using various activities together or with authentic materials.

Published
2016-12-29
How to Cite
โอวัฒนกุล, สุธิดา; กิตติกาญจนโสภณ, ธารินี. การเขียนตามคำบอกเป็นเครื่องมือพัฒนาประสิทธิภาพการเขียนภาษาอังกฤษของ นักศึกษาใน มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 199-206, dec. 2016. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/132>. Date accessed: 01 dec. 2024.