การศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตามหลักพระพุทธศาสนา

  • ธารินี กิตติกาญจนโสภณ สถาบันการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

บทความเรื่องนำเสนอเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพระราชจริยาวัตรตามหลักพระพุทธศาสนา และการน้อมนำแบบอย่างแห่งพระราชจริยาวัตรดังกล่าวนั้นมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย ซึ่งสรุปได้ว่า พระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงยึดแบบอย่างการปกครองโดยธรรมประกอบด้วยทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร 12 และราชสังคหวัตถุ 4 ตามแบบอย่างของสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า คือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระมหาธรรมิกราชเจ้า ซึ่งสืบเนื่องมีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ในขณะเดียวกันก็ทรงยึดถือโบราณราชประเพณี ซึ่งกลมกลืนกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไทย ที่สำคัญที่สุดคือการอบรมเลี้ยงดู โดยที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเลี้ยงดูอภิบาลพระโอรสและพระธิดาให้จำเริญทั้งด้านพระวรกายและพระกำลังสติปัญญา ขณะเดียวกันก็ทรงฝึกพระโอรสพระธิดาทั้ง 3 พระองค์ให้ทรงสำนึกในความเป็นไทย ไม่ลืมขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ไม่ลืมพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ในส่วนพระองค์ทรงมั่นคงในการปฏิบัติฝึกสมาธิวิปัสสนาไม่ว่างเว้น ทรงมีพระสมาธิในการทรงงาน ทรงมีพระขันติธรรมเป็นเลิศ ทรงมีอวิโรธนธรรมนำด้วยพระมหากรุณามีประจำพระราชหฤทัยของพระองค์ทุกเมื่อ ประการสุดท้ายพระราชประสบการณ์นับแต่ยังทรงพระเยาว์แล้วทรงเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ต่าง  ๆ มากมาย ทั้งในราชสำนัก ในสถานศึกษาและการอภิบาลเลี้ยงดูฝึกอบรม เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้เสด็จประพาสในสถานที่ต่าง ๆ ทรงศึกษาความรู้จากข้อมูลคำบอกเล่าของราษฎรในท้องถิ่น ทรงรับฟังและรับทราบปัญหา และทรงคิดหาวิธีช่วยเหลือ เริ่มจากโครงการทดลอง จึงก่อให้เกิดโครงการตามพระราชดำริมากมายนับจำนวนได้ถึง 4,404 โครงการทั่วประเทศ เป็นผลให้ราษฎรยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเองให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อนำมาใช้กับสังคมไทยทั่วไปก็คือ การยึดหลักธรรมในการครองตนและถือแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม จึงจะประสบความเจริญในชีวิต


ABSTRACT


This article is of aim to present the moral conduct of King Bhumibol Adulyadej, Rama IX, according to Buddhism with significant points to focus on the factors influenced over Royal conduct and the application of Royal conduct and activities to the way of life of Thai society, as summarized following : King Rama IX’s conduct is implemented by the Buddhist teachings comprised of ten royal virtues, twelve duties of a great ruler and four royal acts of doing favours, according to the Royal Thai style of the past and previous King rulers successive from Sukhothai period upto the present Chakkri Dynasty ; and at the same time follows the Old Royal traditions and ceremonies ; especially the bringing – up of his own parents especially his mother having encouraged him since earlier age to realize him as a Thai, a Buddhist, with sense of knowledge, wisdom and loving-kindness amidst Thai nationals and people; besides the practice of Dhamma which paves him to the way of the ten virtues or duties of the king, and at the same time he is interested in meditation practice, that make the King calmful and mind – stable. Lastly King Rama IX’s experiences, that is, whatever experienced by him both from formal parents’ care and education, and his own trials and personal experiments. It is obvious that His private travelling to various distant and high lands throughout the country makes him accustomed to the life and living of his people from his direct experiences, and that causes various projects of Royal initiation upto 4,404 in number for the sake of the Thai people, especially “the Philosophy of Economic Sufficiency” suitable for Agricultural Thai Society. Applied to Thai people there should be led the life according to the Buddhist teachings so that they could achieve the glorious prosperity of life.

Published
2016-12-29
How to Cite
กิตติกาญจนโสภณ, ธารินี; พูนวสุพลฉัตร, นวลวรรณ; อุดมธรรมานุภาพ, เมธาวี. การศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 125-136, dec. 2016. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/126>. Date accessed: 27 nov. 2024.