การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ประสิทธิผลของสถานศึกษา และการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาของรัฐบาลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ที่จัดการศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 4 อำเภอ คือ อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอพุทธมณฑล กลุ่มตัวอย่างจาก 50 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3. ตัวแปรที่ส่งผล พบว่า ตัวแปรที่ได้รับคัดเลือกเข้าสมการ คือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยมีประสิทธิภาพในการทำนายได้ร้อยละ 54.3
ABSTRACT
The purposes were to study academic administration, effectiveness of the academic administration, and the academic administration effecting on the effectiveness of primary schools under the Office of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area 2. The samples were selected to make a total of 300 in number that consisted of 50 primary schools in four districts, namely, Nakhon Chaisri, Sampran, Bang Len and Phutthamonthon. The research tool used for collecting the data was the five-rating scale questionnaire. The statistics used in the study was the Percentage, Frequency, Mean, Standard Deviation, and the data analysis was employed via the Pearson correlation and multiple regression analysis procedure.
The results of the study were as follows :-
- 1. The academic administration was found, in an overall aspect, to stand at a high level.
2. Effectiveness of the academic administration was found, in an overall aspect, to be at a high level.
3. As regards the academic administration affecting the effectiveness of the said schools, the study found that the variables that rendered impacts on the effectiveness of the academic administration and were recruited into the equation comprised the development and promotion of learning sources, the measurement and evaluation and the credit transfer and the development of learning process, thus resulting in the predictive ability of 54.3%.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย