แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร

  • รัตนาวดี พรพงศ์ไพศาล นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู คุณภาพเด็กปฐมวัย และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากร คือ โรงเรียน 104 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 344 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร/รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าสายชั้น และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า


1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความสัมพันธภาพระหว่างครู ความพอใจในหน้าที่การงาน อาคารสถานที่และการบริการ ปริมาณการสอน และชุมชนกับการสนับสนุนการศึกษา ตามลำดับ
2. คุณภาพเด็กปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจตามลำดับ
3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูส่งผลต่อคุณภาพเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 


 


 




 


ABSTRACT


The objective of the research was to study the motivation of performances of the teachers, the quality of early childhood, and the motivation of performancesof the teachers affecting the quality of early childhood in the schools under the jurisdiction of the Office of Samut Sakhon Primary Educational Service Area. The population comprised 104 primary schools attached to the Office of Samut Sakhon Primary Educational Service Area, of which 86 schools were selected as samples, with the school directors/deputy directors, program chiefs and teachers as informants numbering 344 in total. The tool used for data collection was a questionnaire. The computer program wasemployed for data analysis, with the statistical devices, namely, frequency, percentage, mean and stepwise multiple regression analysis.


The results of the study were as follows:


1. The motivation of performances was found, in an overall aspect, to remain at a ‘Much’ level. In an individual aspect, the item that was found to be the top rank was the relationship of the teachers, followed by job satisfaction, premises and service, workloads and the neighboring communities’ supports, respectively.
2. The quality of early childhood was found inclusively to stand at a ‘Much’ level. Exclusively, the item that stood on top of the scale was intellectual development, followed by social, physical and emotional and mental developments, respectively.
3. The motivation of performancesof the teachers affecting the quality of early childhood in the area as mentionedwas found todisplay the statistical significance at.01.


 


 

Published
2016-12-29
How to Cite
พรพงศ์ไพศาล, รัตนาวดี. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 63-73, dec. 2016. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/121>. Date accessed: 06 may 2024.