สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย : แนวทางในการแก้ปัญหา

Thai Language Teachers’ Learning Management Conditions : Solutions for Problem Solving

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • บัญชา เกียรติจรุงพันธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

Abstract

บทคัดย่อ


สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยในปัจจุบันนั้น พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้การเรียนการสอนภาษาไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยผู้เขียนจะเสนอสภาพจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้  1) สภาพปัญหาจากครูผู้สอน พบว่าเกิดปัญหาหลายอย่างในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยอันเกิดจากตัวครูผู้สอน ได้แก่ การวิเคราะห์หลักสูตรและตัวชี้วัด  ขาดความรัก ความตระหนักในการจัดกิจกรรม  ขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของแก่นภาษาไทย กลวิธีการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลไม่หลากหลาย สื่อและนวัตกรรมที่นำมาใช้ไม่เหมาะสมกับผู้เรียน ครูขาดการศึกษา ค้นคว้า อบรม สัมมนาเพิ่มเติม และภารกิจนอกเหนือจากงานสอน  2) สภาพปัญหาจากผู้เรียน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีสภาพปัญหาด้านต่าง ๆ ดังนี้  สภาพร่างกาย  สภาพสติปัญญา  สภาพจิตใจ สภาพสังคม  สภาพอารมณ์  ทัศนคติของผู้เรียน  3) สภาพปัญหาจากผู้บริหาร พบว่าผู้บริหารยังมีปัญหาในการบริหารจัดการเรียนการสอนด้านต่าง ๆ ดังนี้  ขาดวิสัยทัศน์ด้านภาษาไทย  ไม่ให้ความสำคัญของภาษาไทยเท่าที่ควร  คัดเลือกครูผู้สอนโดยไม่คำนึงถึงความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และความเหมาะสมและจัดตารางสอนไม่สอดคล้องกับบริบทของวิชาภาษาไทย 4) สภาพปัญหาจากหลักสูตร พบว่าหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีปัญหาด้งนี้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร  ความสอดคล้องของหลักสูตรกับวิธีการจัดการเรียนรู้ของครู  หลักสูตรไม่ตอบสนองผู้เรียนทุกระดับ  เนื้อหาสาระของหลักสูตรมีมากแต่เวลาจัดกิจกรรมมีน้อยหนังสือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของหลักสูตรไม่ทั่วถึง การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในลักษณะกว้างเกินไป  5) สภาพปัญหาจากหนังสือเรียน พบว่าสภาพปัญหาของหนังสือเรียนในปัจจุบันมีปัญหาดังนี้ ความยากง่ายเนื้อหาในหนังสือเรียน ความสอดคล้องเนื้อหากับชีวิตประจำวัน   ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ความล้าสมัยของเนื้อหาบางเรื่อง และความน่าสนใจของหนังสือเรียน 6) สภาพปัญหาจากผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อม พบว่าเกิดจากปัญหาต่าง ๆ ดังนี้  ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง  และผู้ปกครองไม่มีเวลาเพียงพออย่างไรก็ตามแม้จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ข้างต้น แต่ทั้งนี้หากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ครู และนักเรียน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอน ผู้เปรียบเสมือนหัวใจหลักในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้ว ก็จะทำให้การเรียนการสอนภาษาไทยเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก นักเรียนมีความสุขกับการเรียน  สุดท้ายก็จะทำให้ผู้เรียนมีทักศนคติเชิงบวกกับการเรียนการสอนภาษาไทยต่อไป


Abstract


Under the current conditions of Thai language learning activities, many factors hindering the success of Thai language instruction have been found. Therefore, this study aimed to present the said conditions as follows: 1) Teacher problem. Many problems in organizing Thai language learning activities resulted from teachers, such as curriculum and indicator analysis, lack of love and awareness in organizing activities, lack of a complete l understanding of Thai language cores, limited strategies for learning, measurement and evaluation, unsuitable media and innovations for learners, teachers’ lack of further education, research, training and seminars and extra missions. 2) Student problem. Most of the students had the following problems: physical, intellectual, mental, social, emotional problems, and their attitudes.  3) Administrator problem. The school administrator still had problems in teaching and learning in various areas as follows: lack of vision of Thai language, not giving the importance of Thai language as it should be, teachers’ selection regardless of their expertise, experience and suitability, and inconsistent teaching schedule with the context of the Thai language course. 4) Curriculum problem. There were the problems of Thai learning substance group as follows:  course changes, consistency of the curriculum with teachers' learning management methods, courses’ failure to respond to the needs of learners of all levels, abundant contents of the course with limited activity duration, incomprehensive books on course guidelines, too generalized formulation of learning standards and indicators. 5) textbook problem. The textbook problems were as follows: difficulty of content, consistence of content and daily life,  the appropriateness  between content and to the age of the learners,  some content obsolescence, and attractiveness of the textbooks. 6) Parent and environment problem. The problems derived from various areas, namely parents’ spending enough time with their child.


However, despite the above problems, if various agencies, including Ministry of Education, administrators, parents, school committee, teachers and students, especially instructors who are at the heart of the development of learning activities are determined to develop academic achievement, instruction of Thai language is not difficult. Students are happy to study Thai language.  Finally, students would have their positive attitude towards teaching Thai language in the future.

References

ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2535). พฤติกรรมการสอนวิชาภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. ธนบุรี : วิทยาลัยครูธนบุรี สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2527). เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 1 (ภาษาไทย). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันภาษาไทย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 1: ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2557). ภาษาพาสอน : เรื่องน่ารู้สำหรับครูภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Published
2020-12-21
How to Cite
ผิวเหลือง, อรรถพงษ์; เกียรติจรุงพันธุ์, บัญชา; สิริวัฒนาทากุล, ณัฐกิตติ์. สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย : แนวทางในการแก้ปัญหา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/1146>. Date accessed: 23 nov. 2024.