รูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

THE ADMINISTRATION MANAGEMENT MODEL FOR STEM EDUCATION DISTANCE TEACHER TRAINING CENTER FOR SECONDARY SCHOOLS UNDER LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATION

  • ศรินทร์ทิพย์ กริมเขียว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ธานี เกสทอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ร่างรูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา จากผู้บริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบายการบริหารจัดการ 2) การพัฒนาหลักสูตรอบรมกิจกรรมสะเต็มศึกษา 3) การพัฒนาบุคลากร 4) การบริหารจัดการงบประมาณ 5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และ 6) การนิเทศกำกับติดตามและประเมินผล ผลการประเมินรูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


Abstracts 


            The purposes of this research were 1) to examine the administration management of STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools, 2) to establish the administration management model for STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools, and 3) to evaluate the administration management model for STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools.


            step 1) examining the administration management of STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools by studying documents, research, and interview 32 experts. Step 2) establishing the administration management model for STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools by organizing connoisseurship with 9 experts. Step 3) evaluating the administration management model for STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools by 20 administrators of STEM Education Distance Teacher Training Center. The research instrument was a model evaluation form. The statistics used were mean and standard deviation.


            The research findings were as follows:


            There were 6 elements for administration management of STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools namely,
1) administration management policy 2) STEM education training activity development 3) personnel development 4) budget management 5) collaboration networks building, and 6) supervision, monitoring and results management. The evaluation result of the administration management model for STEM Education Distance Teacher Training Center in secondary schools found that overall, the model had accuracy, suitability, possibility, and benefits at the highest level.

References

เกรียงไกร ทานะเวช (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารช่อพะยอม 30(1) : 47-58.

รมณี เหลี่ยมแสง (2561). กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัฏฏิกา ตั้งพุทธิพงศ์ (2559). การวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ห้องเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2) :237-250.

สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือครูพี่เลี้ยงสะเต็มศึกษาการอบรมครูด้วยระบบทางไกล โครงการบูรณาการสะเต็มศึกษา ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ :สสวท.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟฟิค.

Grant A. FOre,Charles R. Feldhausa, Brandon H. Sorgea, Mangilal Agarwal, & Kody Varahramyan. (2015). Learning at the nano-level : Accounting for complexity in the internalization of secondary STEM teacher professional development. Teaching and Teacher Education Review, 40, 93-105.

Krentz, M., & GarneauT. S. (2015). Scicats: An integrative outreach initiative to enhance STEM education in our community. The FASEB Journal, 29(1).
Published
2020-12-11
How to Cite
กริมเขียว, ศรินทร์ทิพย์; เกสทอง, ธานี; โพธิพิทักษ์, ปพนสรรค์. รูปแบบการบริหารศูนย์อบรมครูทางไกลสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/1140>. Date accessed: 23 nov. 2024.