รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

A Model of Academic Administration for Thailand 4.0 of Secondary schools under the Provincial Administrative Organization

  • นันทกานต์ จิรังกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ธานี เกสทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0ฯ 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ฯ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0ฯ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน ผู้บริหารและครู 516 คน ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 12 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนยุคประเทศไทย 4.0, ผู้บริหารในศตวรรษที่ 21, การประกันคุณภาพและการกำกับดูแล, สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ, การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา, การบริหารการมีส่วนร่วม, การพัฒนาครู และบุคลากร, การวิจัยและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย หลักการพื้นฐานของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 และวัตถุประสงค์ของรูปแบบฯ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย ผู้บริหารในศตวรรษที่ 21, การพัฒนาครู และบุคลากร, การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา, การจัดการเรียนการสอนยุคประเทศไทย 4.0, สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารการมีส่วนร่วม, การวิจัยและพัฒนาแหล่งเรียนรู้, การประกันคุณภาพและการกำกับติดตาม ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด


Abstract


This research aimed to 1) analysis the components of academic administration for Thailand 4.0, 2) Form a model of academic administration for Thailand 4.0 and 3) evaluate a model of academic administration for Thailand 4.0. It’s mixed research method. The research instruments were interview, questionnaires and a pattern evaluation form. The sample consisted of 9 experts, 516 administrators and teachers, and 12 from administrators by purposive sampling. The statistical format used was frequency, percentages, mean, standard deviation and exploratory factor analysis (EFA). The results showed that; 1. The components of academic administration for Thailand 4.0 resulted in 8 components: teaching and learning management in Thailand 4.0, administrators of 21st Century, quality assurance and supervision, Innovative media and information technology, educational curriculum development, participation management, teacher and personnel development, research and development of learning resources. 2. A model of academic administration for Thailand 4.0 consists of 3 parts: Part 1; Introduction was the basic principles of academic administration for Thailand 4.0 and the purpose of a model. Part 2; Content consists of 8 components as administrators of 21st Century, teacher and personnel development, educational curriculum development, teaching and learning management in Thailand 4.0, Innovative media and information technology, participation management, research and development of Learning resources, quality assurance and supervision. Part 3; Conditions of success. 3. The evaluation result of a model of academic administration for Thailand 4.0 was at the highest level of accuracy, suitability, utility and feasibility.

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.kruthai.info/495/.

ปริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รวี จันทะนาม. (2557). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดกลาง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.. (2556). การวางแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน Hurdle 1. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุชาติ วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สุนันท์ สีพาย และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่ การศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2), 13-27.

สุพรรณิกา สีสอาด. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2558). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Chester, N. M. (1966). An Introduction to School Administration Selected Readings.
New York: Moillar.
Published
2020-12-23
How to Cite
จิรังกรณ์, นันทกานต์; เกสทอง, ธานี; สันตะวัน, ทีปพิพัฒน์. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/1138>. Date accessed: 29 mar. 2024.