การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน

DEVELOPMENT OF ONLINE TRAININGCOURSES TO ENHANCE ICT COMPETENCY IN CLASSROOM LEARNING MANAGEMENTOF TEACHERS BY LEARNINGA CTIVITIES TOGETHER

  • นีรนาท จุลเนียม คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านสมรรถนะด้านไอซีที
2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที  ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน คือ นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 39 มหาวิทยาลัย จำนวน 330 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย และส่วนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวน 5 ท่าน และ 2) นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) ใช้ระยะะเวลาในการใช้หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ จำนวน 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)  แบบสอบถามสมรรถนะด้านไอซีที 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์การอบรมหลักสูตรออนไลน์ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบ
ค่าที (t-test dependent)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ประกอบด้วย ด้านความรู้ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ และ ด้านทักษะ จำนวน 21 ตัวบ่งชี้

  2. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อนการฝึกอบรม ขั้นปฏิบัติการฝึกอบรม และขั้นหลังฝึกอบรม ของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.88, S.D.= 0.26)

  3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนก่อนฝึกอบรมออนไลน์มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 25 และมีคะแนนหลังการฝึกอบรมออนไลน์ ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 22.45 สรุปได้ว่า ผู้เข้ารับการอบรมออนไลน์ มีคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract


The purposes of this research were 1) to study the problems and needs in ICT competency 2) to develop online training courses to enhance ICT competency 3) to try online training courses to enhance ICT competency CT In managing classroom learning by collaborative learning activities Sample group used in the research The researcher is divided into 2 parts, which are Part 1, a sample group used to collect information about problems and needs for ICT competency in classroom learning management, consisting of 330 university teachers of 39 universities. By using the simple random sampling method and Part 2, the sample group used to find the effectiveness of the online training course is 1) 5 experts in curriculum development and educational technology and 2) 25 vocational teacher students using the method Volunteers Sampling took 5 weeks to complete the online training. The research instruments were 1) ICT Competency Questionnaire 2) Online Course Training Achievement Form 3) Questionnaire Reviews, collaborative learning activities and 4) satisfaction questionnaire for online training courses the statistics used in this research are the mean, standard deviation. Content analysis and testing the t-test dependent


The result of the research shows that


  1. The results of the study, conditions, problems and needs to promote ICT competency in classroom learning management of teachers. The joint learning activities consisted of 23 indicators of knowledge and 21 indicators of skills.

  2. The result of developing online training courses to enhance ICT competency in classroom learning management. The collaborative learning activities consist of 4 components of 3 steps, namely pre-training Training And after the training Of 5 experts in total, at the highest level, with an average ( = 4.88, SD = 0.26)

  3. Trial results of online training courses Developed by the researcher, found that the sample group had academic achievement scores the average score before online training was 16.25 and the average score after online training was 22.45. Had a higher post-training score than before training with statistical significance at the level of .05

References

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา (2552) การประกันคุณภาพการสอนอิเลิร์นนิง. วารสารครุศาสตร์, 38(1) กรกฎาคม – ตุลาคม : 82-92.

ณัฐกร สงคราม (2553) การออกแบบและพัฒนามัลดิมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี (2551) ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิษฐา พุฒิมานรตีกุล (2548) การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ (2554) รายงานการวิจัย เรื่อง สมรถนะผู้สอนออนไลน์ในการจัดการศึกษาทางไกลด้วยอีเลิร์นนิง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑิรา พันธ์อ้น (2551) การศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบทเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบร่วมมือโดยใช้เว็บลอกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยลัยศิลปากร.

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (2553) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรรมแบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการสหวิทยาการสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยลัยศิลปากร.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2551). รวมบทความแนวคิดทางอาชีวศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลย

Creswell, J.W. (2008). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research. 3rd ed. New Jersey: Merrill Prentice Hall.

Driscoll, M. (2002) Web Based Training: creation e-learning experience. 2nd ed. San Francisco: John Wiley & Sons.

Johnson, D.W. and Johnson, R. T. (1987) Learning Together and Alone: Cooperative, Competitive and Individual static Learning. 2ne ed. New Jersey: Prentice-Hall.

UNESCO, (2020) Indicator of Inviromment Quality and Quality of life. Research and Social Science, No. 38. Paris: UNESCO.

Vai; & Sosulski. (2011) Essentials of Online Course Design: A Standard Based Guide. New York, USA : Routledge.
Published
2020-12-25
How to Cite
จุลเนียม, นีรนาท. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/1135>. Date accessed: 03 jan. 2025.