การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9

  • ดร.เมธา หริมเทพาธิป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งวิเคราะห์ตีความหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง ด้วยเหตุที่หลักการทรงงานของพระองค์เป็นหลักการที่เน้นคุณภาพโดยมุ่งพัฒนาคนในชาติเป็นสำคัญ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะปรัชญาการศึกษานั้นจึงมีความสอดคล้องและไปกันได้กับหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลางที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลักและส่งเสริมให้มีวิจารณญาณภายในที่ต้องขับเคลื่อนด้วยการจูงใจบนสัญชาตญาณปัญญาอันเป็นสัญชาตญาณแท้ของมนุษย์ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งทรงเป็นแบบอย่างที่ดีและทรงศึกษาให้รู้จริง เป็นนักปฏิบัติที่ไม่ติดตำรา พร้อมกันนี้พระองค์ก็ทรงสร้างแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่างๆ ขึ้นมาใหม่ด้วยพระองค์เอง ซึ่งผู้ศึกษาทุกคนสามารถน้อมนำหลักการทรงงานมาใช้ได้ทั้งทางด้านการเรียนการสอน การทำงานเพื่อสังคม และเพื่อพัฒนาตนเองให้มีความเจริญก้าวในชีวิตได้อย่างดียิ่ง


Abstract


This article aimed to analyze the interpretation working principles of His Majesty King Bhumibol Adulyadej in order to apply to study the Educational philosophy of the Moderate Postmodernism. The principle is primarily focused on developing the quality of life of people. When we applied the principles with an educational philosophy that is related to the Moderate Postmodernism because both focused on improving the quality of human life, and encourage internal critical analysis which came from human deeper intellectual motivation that is really instinctive of humanity.


The Results of the study found that His Majesty King Bhumibol Adulyadej had a vision to promote lifelong learning. He is a role model in educator and practitioner who is not take a leaf out of any books. In addition, he is original in a new concept in many theories. Therefore, the people can adapt his working principles which are benefits in various ways such as education, social work thus for developing themselves due to progressing in their own life.

Published
2016-06-30
How to Cite
หริมเทพาธิป, ดร.เมธา. การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 120-132, june 2016. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/113>. Date accessed: 06 may 2024.