มองคดีความผ่านทัศนะทางปรัชญา

  • พระครูโกศลศาสนบัณฑิต กฤษณะ ตรุโณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

บทความนี้ต้องการจะตอบคำถามว่า ทำไมเมืองไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธจึงมีคดีความจำนวนมาก? และกลุ่มแนวคิดทางปรัชญาจะมองคดีความอย่างไร ? กล่าวได้ว่าคนไทยจำนวน 94 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวพุทธซึ่งต้องสมาทานศีล 5 ในทุก ๆ พิธีกรรมของพระพุทธศาสนา การสมาทานศีล 5 ก็หมายความว่าชาวพุทธตั้งใจปฏิบัติตามศีล 5 แต่ในความเป็นจริง ชาวพุทธได้ละเมิดศีล 5 เป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดคดีความจำนวนมาก เหตุผลที่ต้องละเมิดศีล 5 ก็คือ 1. ความไม่จริงใจในการปฏิบัติตามศีล 5 คือ สักแต่ว่าสมาทานไปพอเป็นพิธี และ 2. ความจำเป็นในการประกอบอาชีพ มีอาชีพหลายอาชีพที่ขัดแย้งกับการปฏิบัติตามศีล 5 เช่นอาชีพประมงขัดกับศีลข้อที่ 1 และอาชีพทนายความอาจขัดกับศีลข้อที่ 4 นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่นการเข้าสังคมด้วยการดื่มสุรา ขัดกับการปฏิบัติศีลข้อที่ 5 การละเมิดศีล 5 ส่วนหนึ่งทำให้เกิดคดีความทันที่ เช่นนายแดงฆ่าคนตาย เป็นการละเมิดศีลข้อที่ 1 เมื่อมีการแจ้งตำรวจและฟ้องศาลก็เป็นคดีความขึ้นมาทันที


คดีความเป็นสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ชั่ว ? ในทัศนะของกลุ่มสัมบูรณนิยมถือว่าความดีเป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ขึ้นอยู่กับความเห็นหรือการกำหนดของผู้ใดหรือกลุ่มชนใดทั้งสิ้น แสดงว่าคดีความเป็นได้ทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่ว กลุ่มที่ได้ประโยชน์ก็บอกว่าเป็นสิ่งดี กลุ่มที่เสียประโยชน์ก็บอกว่าเป็นสิ่งชั่ว ในทัศนะของกลุ่มสัมพันธนิยมถือว่าความดีมิได้อยู่เป็นสากลอย่างตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นหรือการยอมรับของสังคมแต่ละแห่งแต่ละเวลา ในทัศนะของกลุ่มวัตถุนิยมถือว่าความสุขทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของชีวิต แสดงว่าถ้าคดีความทำให้เกิดความสุขทางกายได้ ก็เป็นสิ่งที่ดี ในทัศนะของกลุ่มจิตนิยมถือว่าจิตหรือสภาวะนามธรรมมีความเป็นจริงสูงสุด และมีความสำคัญกว่าวัตถุ แสดงว่าถ้าคดีความมีผลดีต่อจิตก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละคนแต่ละกลุ่มให้คุณค่าต่อสิ่งต่าง ๆนั่นเอง สำหรับผู้เขียนขอบอกว่าเห็นด้วยกับทัศนะของกลุ่มสัมบูรณนิยม เพราะมีเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม คือเหตุผลว่าความดีเป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขใด ๆ


This article needs to answers the questions “Why did the Thai Buddhist made a lot of sum of lawsuit? And how do the philosophical groups see through the lawsuits ? Let ‘s start, 94 % of Thai people are Buddhist whose vowed to practice the five precepts in every ceremonies of Buddhism. As we known vow to practice the five precepts means attention to practice the five precepts. In fact Buddhist acts agent the five precepts very much sum, that made very much sum of lawsuits. The causes which is made Buddhist acts agent the five precepts are 1.The Buddhist did not pray attendant to practice the five precepts, 2. The necessary of occupation, such as, fisherman acts agent the 1st precept, etc. Whenever they acts agent the five precepts, they suddenly made lawsuits.


Do the lawsuits are good thing or bad thing? In the view of Absolutism which is got main idea, “Goodness or good thing are exist by itself, it did not depend on the opinion or determine of the others”. So, lawsuit can be both the good thing and the bad thing. If it useful for the group, it good for them. If it did not useful, it is bad, only. In the view of the Relativism which is got main idea, “Goodness did not universal exist, but depend on the place (society) and time”. So, lawsuit can be good and bad by the place and time. In the view of Materialism which is got main idea, Bodily happiness is the best in human life”. So, whatever do bodily happiness, such as, lawsuit did, lawsuit is the good thing, too. And the view of Idealism which is got main idea, “Spirit is the most important”. So, whatever take most important to spirit, such as, the lawsuit did, lawsuit is the good thing, also. It is to say in short “Different group get different idea”. I, the writer, had agree with the view of Absolutism, because the got valuable reasons, that is, all of the goodness or the good things are exist by themselves, they did not exist depend on the others at all.

Published
2016-06-30
How to Cite
ตรุโณ, พระครูโกศลศาสนบัณฑิต กฤษณะ. มองคดีความผ่านทัศนะทางปรัชญา. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 73-83, june 2016. ISSN 2408-199X. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/109>. Date accessed: 22 nov. 2024.