บรรยากาศในการทำงานของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศในการทำงานของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น จำแนกเป็นด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทางด้านสังคม และจิตใจ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทางกายภาพ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบริหารงานของผู้บริหาร และความมั่นคงในการทำงาน และด้านค่าตอบแทน และสวัสดิการ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 139 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่า
1.บุคลากรภายในสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น มีเพศหญิงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.3 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.3 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.1 นอกจากนั้นพบว่ามีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น มีช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 11 - 20 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.3
- บรรยากาศในการทำงานของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.76, S.D.=0.76) โดยบรรยากาศในการทำงานที่มีผลมากที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานทางกายภาพ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก (=3.87, S.D = 0.76)
References
รติรัตน์ ภาสดา. (2559). ความมั่นคงในการทำงานและความจงรักภักดีของพนักงานเงินรายได้สายสนับสนุนวิชาการภายหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ จันรจนา และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(4), 159-174.
สุวภัทร ศรีสว่าง และณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2562). สวัสดิการและค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14 (3), 294-303.
Bowditch, J. L., & Buono, A. F. (1994). A primer on organizational behavior. New York:
John Wiley & Sons.
Brown, W., & Moberg, D. (1980). Organization theory and management: A macro approach. New York: Wiley & Sons.
Gilmer, V. B. (1973). Applied Psychology. New York: Mc Graw-Hill.
Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968). Motivation and organization climate. Boston:
Havard University.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. New York : Harper and Row.
1. ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งตีพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
2. ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
3. ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
4. ในกรณีที่เป็นบทความแปล ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยการขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมสากล
5. ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตาราง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร กองจัดการ และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
6. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร