ธัมมกถิกสูตร: สูตรสำเร็จพระธรรมกถึก

  • พระมหาวิรุธ วิโรจโน, ดร. Mahamakut Buddhist University Isan Campus

Abstract

คุณสมบัติของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา (Buddhist delegates) นั้น ก่อนอื่นจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการศึกษาค้นคว้าธรรม (สนฺทิฏฺฐิโก) ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วกว่า 25 พุทธศตวรรษ (อกาลิโก) แล้วเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจ (เอหิปสฺสิโก) และน้อมนำธรรมเหล่านั้นมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน (โอปนยิโก) ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าขั้นปริยัติ โดยมีกระบวนการทรงจำ กล่าว บอก สอนกันและกันจนเสร็จสิ้นแล้วจึงนำไปสู่ขั้นปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงโดยกระบวนการรู้จัก รู้จำ นำไปปฏิบัติจริง จนบังเกิดผลสำเร็จเป็นขั้นปฏิเวธคือการรู้แจ้งโดยลำดับเสียก่อน จึงจะนำมาสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วยวิธีการแสดงธรรมในฐานะพระธรรมกถึก ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้แสดงสูตรสำเร็จแห่งการเป็นผู้แสดงธรรมที่ดีไว้ 3 ประการดังนี้ 1) พระธรรมกถึกที่ดีนั้น จะต้องแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อกำจัดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเสียได้, 2) พระธรรมกถึกที่ดีนั้น จะต้องแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อกำจัดชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ และสังขารเสียได้ และ 3) พระธรรมกถึกที่ดีนั้น จะต้องแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อกำจัดอวิชชาเสียได้ หลักการดังกล่าวข้างต้นจึงนับเป็นวัตถุประสงค์ (objectives) ของการแสดงธรรมอย่างแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามที่ปรากฏอยู่ในธัมมกถิกสูตร คัมภีร์สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 16


คำสำคัญ : ธัมมกถิกสูตร

Published
2020-06-30
How to Cite
ดร., พระมหาวิรุธ วิโรจโน,. ธัมมกถิกสูตร: สูตรสำเร็จพระธรรมกถึก. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มน้ำโขง, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 25-38, june 2020. ISSN 2465-5465. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/bmrj/article/view/1230>. Date accessed: 22 nov. 2024.