การพัฒนาความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) ร่วมกับเทคนิคสตอรี่บอร์ด รายวิชา ส 14101 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสะอาดนามูล

THE DEVELOPMENT OF KNOWLEDGE CONSTRUCTION ABILITY AND LEARNING ACHIEVEMENT USING SIMULATION INSTRUCTIONAL WITH STORYBOARD TECHNIQUES, SOC. 14101 SOCIAL STUDIES OF GRADE 4 STUDENTS BANSAARDNAMUL SCHOOL

  • กนกพร ภาโนมัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐพล มีแก้ว มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ร่วมกับเทคนิคสตอรี่บอร์ด ให้นักเรียนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลอง ร่วมกับเทคนิคสตอรี่บอร์ดให้นักเรียนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสะอาดนามูลที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 12 คน โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้, แบบสัมภาษณ์นักเรียน, แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน และแบบวัดผลท้ายวงจร 3) เครื่องมือในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลคะแนนความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีนักเรียนจำนวน 9 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของนักเรียนทั้งหมดจำนวน 12 คน คะแนนเฉลี่ย 35.08 จากคะแนนเต็ม 48 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73.08 ของคะแนนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักเรียนจำนวน 9 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของนักเรียนทั้งหมดจำนวน 12 คน คะแนนเฉลี่ย 23.92 คิดเป็นร้อยละ 79.73 ของคะแนนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70


           This research aimed to 1) to development of knowledge construction ability using Simulation Instructional with Storyboard Techniques for Grade 4 Students with
a goal of 70% of class Scoring no lower than 70% 2) to development of learning achievement using Simulation Instructional with Storyboard Techniques for Grade 4 Students with a goal of  70% of class Scoring no lower than 70% Target group used in research is Grade 4 Students of Bansaardnamul School in the second semester
of academic year 2022  total 12 people. The research followed action research procedures for which 3 categories of research tools were used, i.e. 1) the instrument for experimental practice including 9 plans based Simulation Instructional with Storyboard Techniques for 12 hours, 2) reflective instruments  which consisted of
a post lesson report, a student interview form, a learning observation form and end of spiral quizzes, 3) The instrument for evaluate the performance were the knowledge construction ability test and achievement test. Data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation.


           The results showed that: 1. Test results, measure knowledge construction ability there were 9 students enrolled accounted for 75.00 % of the total number of 12 students and with an average score of 35.08 out of 48 points. It is 73.08 percent which is higher than the threshold set is 70 percent. 2. Test results, measure learning achievement there were 9 students enrolled 75.00 % of the total 12 students and an average score of 23.92 out of a total of 30 points 79.73 %, which is higher than the threshold set is 70 percent.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565.จาก http://academic.obec.go.th/web/news/view/75

กวิศรา เอี่ยมบรรณพงษ์ และคณะ. (2563). การสร้างสตอรี่บอร์ด (Story Board) สำหรับผลิตวีดิทัศน์ทางการแพทย์. เวชบันทึกศิริราช. 13(2). 141-147.

จิตสุภา กิติผดุง. (2564). กิจกรรมการเรียนรู้แบบสถานการณ์เป็นฐาน ในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับอุดมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(5). 2220-2229.

ชนาธิป พรกุล. (2561). กระบวนการสร้างความรู้ของครู กรณีการสอนบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรินทร์ ทองเผือก และชาริณี ตรีวรัญญู. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้เรื่องการเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 11(1). 348-365.

ปุญยนุช พิมใจใส. (2555). รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ : รูปแบบการเรียนการสอนพาร์เซ่. วารสารพยาบาล. 61(4). 49-56.

พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธกรณ์ ก่อศิลป์ และนิลมณี พิทักษ์. (2556). การพัฒนาความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญารายวิชา ส32103 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(1). 132-139.

วิจารณ์ พานิช. (2558). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. กรุงเทพฯ : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ศศิธร พงษ์โภคา และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(2). 1223-1237.

สำนักทดสอบทางวิชาการ. (2549). กระบวนการสร้างอง์ความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Essley, R. (2008). What Are Storyboards?: Visual Tools for Differentiating Reading & Writing Instruction. Retrieved 15 June 2022. From https://www.scholastic.com/ teachers/ articles/teaching-content/what-are-storyboards/

Fosnot, C. (1996). Constructivism : Theory, Perspectives and Practice. New York : Teachers College Press.

Hasan, D. N. W., M. Sayid. (2016). Storyboard in Teaching Writing Narrative Text. Retrieved 13 June 2022. From http://ejournal.radenintan.ac.id/index.php/ENGEDU/ article/view/372

Kenneth, T. Hnson. (1996). Methods and Strategies for Teaching in Secondary and Middle School. 3rd ed. U.S.A. : Publishers.
Published
2023-09-05
How to Cite
ภาโนมัย, กนกพร; มีแก้ว, ณัฐพล. การพัฒนาความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) ร่วมกับเทคนิคสตอรี่บอร์ด รายวิชา ส 14101 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสะอาดนามูล. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 119-133, sep. 2023. ISSN 2730-4132. Available at: <http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2377>. Date accessed: 30 apr. 2024.
Section
บทความวิจัย