Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นี้ ต้องไม่เคยเผยแพร่มาก่อน หรือไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารเล่มอื่น (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบรรณาธิการบริหาร)
    The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor
  • ไฟล์ที่เสนอตีพิมพ์ ต้องจัดทำตามรูปแบบ Template ที่กำหนดให้ และสามารถเปิดกับโปรแกรม OpenOffice, Microsoft Word ได้ หรือเป็นนามสกุล .doc, docx, และ .rtf เท่านั้น
    The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • บรรณานุกรมและการอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6 Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

การเตรียมบทความ

  1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้องค์ประกอบต่าง ๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้จัดทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์ และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น กรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยในวงเล็บภาษาอังกฤษ การปรากฏอยู่หลายที่ในบทความของศัพท์คำเดียวกันที่เป็นภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษให้ใช้คำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษเฉพาะครั้งแรก ครั้งต่อไปใช้เฉพาะคำศัพท์ภาษาไทยเท่านั้น บทนิพนธ์ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาก่อน
  2. การพิมพ์ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด A4   ตั้งค่าหน้ากระดาษสาหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ด้านละ 2 เซนติเมตร ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า
  3. รูปแบบตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้แบบ TH Sarabun New ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดตัวอักษรอย่างเดียวกัน ดังนี้ ชื่อเรื่อง ขนาด18 pt. ชื่อผู้นิพนธ์ ขนาด 14 pt. ตัวปกติ หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา เนื้อความทุกส่วนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นชื่อตำแหน่งของผู้นิพนธ์ และที่อยู่ใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ
  4. จำนวนหน้าความยาวของบทความไม่ควรเกิน 20 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
  5. ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ (Tables, Picture, Figure, Diagram and Graph)ให้แทรกไว้ในเนื้อเรื่อง อาจจัดทำเป็นขาวดาหรือสีใดก็ได้โดยให้ผู้นิพนธ์คัดเลือกเฉพาะที่จาเป็นเท่านั้น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตารางส่วนชื่อรูปภาพ แผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่างพร้อมทั้งคาอธิบายสั้นๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน
  6. การส่งต้นฉบับให้ผู้นิพนธ์นำส่งต้นฉบับที่ระบบ OJS ของวารสารในหน้าแรกของเว็บไซต์

 *ตัวอย่าง https://drive.google.com/file/d/1IEiRpycF61CzVkDNGlqN9z46w1mJpX38/view?usp=sharing

ประเภทบทความ

  1. บทความวิจัย (Research articles)เป็นการนำเสนอผลการวิจัยอาจเป็น Concept paper หรือผลงานวิจัยที่สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการด้วยตนเอง
           1.1 ส่วนประกอบตอนต้น 
                   1.1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัดแสดงเป้าหมายหลักของการวิจัย ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อนใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย
                   1.1.2 ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors and Coauthors) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับและลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุสังกัด พร้อม e-mail address (กรณีเป็นนิสิต/นักศึกษาให้ระบุหลักสูตร สาขาวิชา และสถาบันการศึกษา)
                   1.1.3 บทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกินอย่างละ 200 คำ เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้นได้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ควรเขียนแบบสั้น และตรงประเด็น ระบุเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้น (เขียนแบบ Indicative abstract) ไม่ควรเขียนตามรูปแบบที่เขียนในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือวิทยานิพนธ์ (เขียนแบบ Informative abstract) โดยให้ลำดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
                   1.1.4 คำสำคัญ (Key Word) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวแทนบอกวิธีการวิจัย ประเด็นที่วิจัย ผลการวิจัย สาขาที่ทำวิจัย การใช้ประโยชน์ หรือสถานที่ที่ทำวิจัย คำสำคัญนี้ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษแต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ โดยให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
             1.2 เนื้อหาในบทความวิจัย
                   1.2.1 บทนำ (Introduction) อธิบายถึงภูมิหลังความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย รวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเหตุผลของการทำวิจัย
                   1.2.2 วัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives) เป็นความเรียงเฉพาะประเด็นสำคัญของวัตถุประสงค์การวิจัยที่ครอบคลุมแนวทางการทำวิจัยทั้งหมด
                   1.2.3 สมมติฐานการวิจัย (Hypothesis) (ถ้ามี) เป็นความเรียงสมมติฐานเชิงพรรณนาหรือระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
                   1.2.4 ขอบเขตการวิจัย (Scope) กำหนดกรอบความคิดการวิจัย (Conceptual framework) เป็นกรอบที่เป็นแนวทางการทำวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ตัวแปร และความสัมพันธ์ของตัวแปร พื้นที่และระยะเวลาการวิจัย
                   1.2.5 วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) ระบุแบบแผนการวิจัย เช่น การสำรวจ ศึกษาเอกสาร ทดลอง และอื่น ๆ (Survey, documentary, experiment and etc.) และวิธีการดำเนินการวิจัย
                   1.2.6 ประชากร (Population) คุณลักษณะและจำนวนให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด
                   1.2.7 ตัวอย่าง (Sample) หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง
                   1.2.8 เครื่องมือการวิจัย (Research instrument) ชนิดของเครื่องมือ วิธีการสร้าง การทดลองใช้ (Tryout) และการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย
                   1.2.9 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และระยะเวลาการรวบรวมข้อมูล
                   1.2.10 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) (ถ้ามี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                   1.2.11 ผลการวิจัย (Results) รายงานผลการวิจัยเฉพาะในความสำคัญ ชัดเจน และตรงประเด็น จากผลการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ในการวิจัย โดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์การวิจัย ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก ถ้ามีตัวแปรที่ศึกษาหรือตัวเลขมากให้นำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ แทรกในเนื้อหา พร้อมอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้นๆ
                   1.2.12 การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการแสดงความเห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้องหรือแตกต่างจากวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ หรือผลงานวิจัยที่ผู้รายงานไว้ก่อนอย่างไร เป็นเพราะเหตุผลใด มีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลงานวิจัยอะไรสนับสนุน
                   1.2.13 สรุปผลการวิจัย (Conclusion) เป็นการสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกิดจากการทำวิจัย
                   1.2.14 ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ (Suggestion) นำเสนอผลการวิจัยที่เด่นชัดสมควรนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และแนวทางการทำวิจัยต่อไป
                   1.2.15 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ให้ระบุสั้นๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนหรือได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรและบุคคลใด
                   1.2.16 เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้นิพนธ์ได้นำมาอ้างอิงในบทความวิจัยอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิง APA Citation Style

2. บทความทางวิชาการ (Review articles) เป็นบทความที่ผู้วิจัยได้เรียบเรียงโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงานแปล และผลงานจากประสบการณ์ของผู้วิจัยหรือถ่ายทอดจากผู้อื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ องค์ความรู้การเสนอความคิดเห็นที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการของสาขาต่างๆ
         2.1 ส่วนประกอบตอนต้น
               2.1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้เป็นภาษาไทยก่อนใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย
               2.1.2 ชื่อผู้วิจัย (Authors and Coauthors) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับและลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุสังกัด พร้อม e-mail address (กรณีเป็นนิสิต/นักศึกษาให้ระบุหลักสูตร สาขาวิชาและสถาบันการศึกษา)
               2.1.3 สาระสังเขป (Summary) เป็นการย่อเนื้อความของบทความทั้งเรื่องให้สั้นได้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเขียนไม่เกินอย่างละ 200 คำ ให้ลำดับสาระสังเขปภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยสาระสังเขปภาษาอังกฤษ
               2.1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวแทนบอกวิธีการ สิ่งที่ศึกษาผลการศึกษา สาขา การใช้ประโยชน์ และสถานที่ คำสำคัญ ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษแต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ
         2.2 เนื้อหา (Main texts) ในบทความทางวิชาการมีองค์ประกอบดังนี้
               2.2.1 บทนำ (Introduction) กล่าวถึง ความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ ก่อนเข้าสู่เนื้อหา
               2.2.2 เนื้อความ (Content) ควรนำเสนอพัฒนาการของเรื่องได้อย่างน่าสนใจและเนื้อเรื่องมีเนื้อหาใหม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
               2.2.3 สรุป (Conclusion) เป็นการย่อเฉพาะข้อมูลจากเนื้อความให้สั้น ได้เนื้อหาสาระของเนื้อความครบถ้วน
         2.3 เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้นิพนธ์ได้นำมาอ้างอิงในบทความวิชาการอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิง APA Citation Style ตัวอย่าง https://drive.google.com/file/d/1IEiRpycF61CzVkDNGlqN9z46w1mJpX38/view?usp=sharing